Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการ
แสดงออก ก) ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนโดยการนำตนเองและวิธีการสอนแบบปกติ และ ข) ระหว่าง
กลุ่มนักเรียนที่มีภาวะผู้นำต่างกัน และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนและเจตคติต่อการร้องเพลง ก)
ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนโดยการนำตนเองและวิธีการสอนแบบปกติ และ ข) ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่
มีภาวะผู้นำต่างกัน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองระยะยาว วัดก่อนและหลัง และมีกลุ่มควบคุม(longitudinal
pretest – posttest, control group design) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา
Singlish ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2549 จำนวน 26 คน ซึ่งจัดเข้ากลุ่มทดลองโดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มที่สอน
โดยครู และกลุ่มที่สอนโดยการนำตนเอง) แต่ละกลุ่มแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม (กลุ่มที่มีผู้นำดี และกลุ่มที่มีผู้นำปาน
กลาง) รวม 4 กลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการสอนแบบปกติและแผนการสอนโดยวิธีนำตนเอง แบบทดสอบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน แบบวัดเจตคติต่อการร้องเพลง แบบสังเกตพฤติกรรมการ
แสดงออกด้านการร้องเพลง ด้านท่าทาง ด้านกระบวนการทำงานกลุ่ม และด้านความคิดริเริ่ม มีการรวบรวมข้อมูลโดย
การวัดก่อนเรียน การวัดระหว่างเรียน 7 ครั้ง และการวัดหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์
องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การเปรียบเทียบพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการแสดงออก ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่
เรียนด้วยวิธีสอนโดยการนำตนเองและวิธีการสอนแบบปกติ พบว่ามีพัฒนาการเป็นแบบเส้นตรง และตัวแปร
พฤติกรรมการแสดงออก 3 ตัวแปร จากการวัดระหว่างเรียนครั้งที่ 2 (bh2) 3 (bh3) และ 7 (bh7) มีค่าเฉลี่ยแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการแสดงออกระหว่าง
กลุ่มนักเรียนที่มีภาวะผู้นำต่างกัน พบว่ามีพัฒนาการเป็นแบบเส้นตรง และตัวแปรพฤติกรรมการแสดงออกจากการวัด
หลังการเรียน 3 ตัวแปร จากการวัดระหว่างเรียน ครั้งที่ 2 (bh2) 4 (bh4) และ 7 (bh7) มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ
3. การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียน และเจตคติต่อการร้องเพลงระหว่างกลุ่มนักเรียนที่เรียน
ด้วยวิธีการสอนโดยการนำตนเองและวิธีการสอนแบบปกติ พบว่าตัวแปรความพึงพอใจต่อการเรียน เจตคติต่อการร้อง
เพลง รวมทั้งหมด 14 ตัวแปร มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียน และเจตคติต่อการร้องเพลงระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะ
ผู้นำต่างกัน และที่เรียนด้วยวิธีสอนแตกต่างกัน พบว่ามีอิทธิพลหลักและอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนกับภาวะ
ผู้นำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ