Abstract:
ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลคือผู้หญิงที่มีประสบการณ์ถูกสามีทำร้ายร่างกาย และเข้ามาพักพิงอยู่ในบ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ จำนวน 9 ราย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยเข้ารหัสและจัดหมวดหมู่เนื้อหา ตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูลโดย การนำผลการวิเคราะห์ให้ผู้มีความรู้ทางจิตวิทยาการปรึกษา และผู้มีความรู้ทางการวิจัยเชิงคุณภาพพิจารณาความถูกต้องเหมาะสม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปประเด็นหลักได้ 6 ประเด็น ดังนี้ 1. ความรู้สึกที่ถูกทำร้าย ประกอบไปด้วย ความไม่คาดคิด กลัวและหวาดระแวง อายที่จะบอกเรื่องราวให้คนอื่นได้รับรู้ เหน็ดเหนื่อยกับความยากลำบากในชีวิต โกรธแค้นเกลียดชังสามีและต้องการก้าวออกไปจากความสัมพันธ์ 2. เหตุผลของการคงอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถออกไปจากความสัมพันธ์ที่รุนแรงได้ ประกอบด้วย ความรัก ความคาดหวังว่าสามีจะเปลี่ยนพฤติกรรม ความรักลูก และหมดหนทางไป 3. ความรู้สึกของการทนอยู่ในความสัมพันธ์ผู้หญิง โทษและสมน้าหน้าตนเอง จำต้องอดทนต่อความเจ็บปวดที่ได้รับและใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ 4. จุดแตกหัก เป็นความรู้สึกที่ทำให้ผู้หญิงตัดสินใจออกไปจากความสัมพันธ์ซึ่งมาจากการหมดความเชื่อมั่น และความคาดหวังในตัวสามีและหมดสิ้นความอดทนต่อความรุนแรงที่ได้รับ 5. ความรู้สึกที่ตกค้างจากการถูกทำร้าย ประกอบด้วยความกลัวและระแวงว่าจะเกิดเหตุการณ์เดิมซ้า เสียดายและผิดหวังกับชีวิตที่ต้องตกต่ำ และคิดว่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นเวรกรรมของตน 6. จิตใจที่ได้รับการฟื้นพลัง เป็นภาวะจิตใจที่ได้รับกำลังใจต่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตอย่างมีคุณค่า ด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น งานวิจัยนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจประสบการณ์ด้านจิตใจของผู้หญิงที่ถูกทาร้ายร่างกาย เพื่อช่วยให้นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถช่วยเหลือผู้หญิงกลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสม