DSpace Repository

กรอบการวิเคราะห์ระดับการให้บริการของสายทางที่เหมาะสมในแต่ละยุทธศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิศณุ ทรัพย์สมพล
dc.contributor.author ชานนท์ อมรชัยศักดา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2011-09-23T12:44:21Z
dc.date.available 2011-09-23T12:44:21Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15937
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ปัจจุบันการบริหารงานบำรุงโครงข่ายสายทางของหน่วยงานรัฐบาล ได้จัดสรรงบประมาณการซ่อมบำรุงตามยุทธศาสตร์สายทาง โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการบริหารงานบำรุงโครงข่ายสายทางคือ การกำหนดค่าดัชนีชี้วัดระดับการให้บริการเป้าหมายของสายทาง เพื่อใช้ประเมินประสิทธิผลของการบริหารจัดการงานบำรุงทาง ในอดีตที่ผ่านมาผู้บริหารของหน่วยงานจะเป็นผู้กำหนดค่าดัชนีชี้วัดเป้าหมายของระดับการให้บริการสายทาง โดยใช้ค่าระดับการให้บริการเฉลี่ยของโครงข่ายทางเป็นตัวชี้วัด แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการให้บริการในแต่ละสายทางมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าดัชนีชี้วัดเป้าหมายของแต่ละสายทางควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในแต่ละยุทธศาสตร์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการวิเคราะห์ระดับการให้บริการในแต่ละยุทธศาสตร์สายทาง โดยใช้ค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) เป็นตัวแทนระดับการให้บริการ ผลการศึกษาพบว่าวิธีการวิเคราะห์หาค่า IRI เป้าหมายมี 3 วิธีคือ 1) การประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ทาง เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้กับสายทางที่มีวัตถุประสงค์ ในการอำนวยความความสะดวกในการเดินทางของประชาชน 2) การประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้กับสายทางที่รองรับการขนส่ง และมีปริมาณการจราจรสูง และ 3) การวิเคราะห์ต้นทุนค่าซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งานของสายทาง เหมาะสำหรับสายทางที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการประชาชน แต่มีไว้สำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานราชการของเจ้าหน้าที่ การวิเคราะห์หาค่า IRI เป้าหมายที่เหมาะสมนั้น สามารถนำวิธีการวิเคราะห์ในแต่ละแนวทางมาพิจารณาร่วมกัน หากสายทางนั้นรองรับหลายวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งงานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้บริหารโครงข่ายทางสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการกำหนดค่าดัชนีชี้วัดเป้าหมายของการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม เพื่อให้งบประมาณการบริหารจัดการโครงข่ายทางที่ได้รับเกิดประโยชน์สูงสุด และมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตามนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาลกำหนดไว้ en
dc.description.abstractalternative At present, the Thai government’s budget for road network maintenance is allocated corresponding to road strategies and in line with the national development policy. The determination of road serviceability level target index is an important factor in the system of road network maintenance management because the index will be used to assess the effectiveness of the system. In the past, the average serviceability target level was determined by the experts from the Department of Highways and the Department of Rural Roads. However, since different roads may serve different service purposes, the determination of the serviceability level should correspond with each road strategy. The aim of this research is to present an analytical framework of road serviceability level corresponding to road strategies by using the International Roughness Index (IRI) as a representative index of serviceability level. The findings show that there are three approaches to determine the target IRI which are (1) the road users’ satisfaction approach which is suitable for roads facilitating the several travellers; (2) the economic analysis approach which is suitable for road that accommodate high traffic volume; (3) the minimum life cycle maintenance cost approach which is suitable for service roads or road that are designed to facilitate governmental missions. These three approaches can be considered together in order to determine the appropriate IRI for roads that serve various purposes. This research has provided road network management authorities with an analytical framework that can be applied to be used as a tool to determine the target index in a systematic and appropriate way. In doing so, they will be able to optimize the allocated budget and manage the road network system in line with the national strategy of the government. en
dc.format.extent 2437560 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.30
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ทางหลวง -- การจัดการ en
dc.subject ทางหลวงชนบท -- การจัดการ en
dc.subject ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม en
dc.title กรอบการวิเคราะห์ระดับการให้บริการของสายทางที่เหมาะสมในแต่ละยุทธศาสตร์ en
dc.title.alternative Analytical framework of road serviceability level corresponding to road strategies en
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor wisanu.s@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.30


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record