DSpace Repository

ผลตอบแทนตลาดหลักทรัพย์ในการเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจกรณีประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชโยดม สรรพศรี
dc.contributor.author เกรียงไกร ทำนุทัศน์, 2522-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-05-29T12:05:34Z
dc.date.available 2006-05-29T12:05:34Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741739915
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/161
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract การศึกษาในครั้งนี้มุ่งที่จะอธิบายความสามารถของผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์รายอุตสาหกรรม ในการทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจจาก 2 ช่วงเวลา ตั้งแต่ปี 2536-2539 และปี 2542-2545 และในส่วนสุดท้ายได้ทำการศึกษาความสามารถในการเป็นดัชนีชี้นำภาคการส่งออก โดยใช้การทดสอบ Granger Causality จากแบบจำลอง Vector error correction model โดยอาศัยทฤษฎีการส่งผ่านนโยบายทางการเงินด้านสินทรัพย์เป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์และภาวะเศรษฐกิจพบว่า จากจำนวนอุตสาหกรรมทั้ง 10 ภาคอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ใน ภาคพลังงาน ภาคชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และภาคสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม สามารถทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจได้ ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจสามารถเป็นดัชนีชี้นำผลตอบแทนตลาดหลักทรัพย์ในภาคสื่อสารและภาคยานพาหนะและอุปกรณ์ได้ ส่วนในช่วงหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ พบว่าภาคอุตสาหกรรมที่สามารถทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจได้ คือภาคพลังงานและภาคยานพาหนะ และอุปกรณ์โดยมีระยะเวลาของการชี้นำอยู่ที่ 4 เดือนและ 3 เดือนตามลำดับ และภาคเศรษฐกิจได้กลายเป็นดัชนีชี้นำผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ในภาคเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์, ภาคบันเทิงและสันทนาการและภาคสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนั้นการศึกษานี้ได้วิเคราะห์ความสามารถในการเป็นดัชนีชี้นำระหว่างผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์กับภาคการส่งออก พบว่า จากภาคอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษาทั้ง 6 ภาคอุตสาหกรรมนั้น ไม่มีภาคอุตสาหกรรมใดเลยที่สามารถเป็นดัชนีชี้วัดการส่งออกได้ แต่ในทางกลับกัน ภาคการส่งออกสามารถเป็นดัชนีชี้นำผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ในภาคเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาคสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและภาคพลาสติกเคมีภัณฑ์ แสดงว่าผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้มีผลกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ภาคการส่งออก สามารถทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้นำผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยสรุปจากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ยังคงสามารถทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการส่งออกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจาก ปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เคยทำการศึกษามา ทั้งนี้ในส่วนของภาครัฐสามารถนำผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ ในภาคพลังงานและภาคยานพาหนะและอุปกรณ์ไปใช้เป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจในแง่ของการเป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจได้ ในส่วนของนักลงทุน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถเป็นดัชนีชี้นำผลตอบแทนในภาคเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาคบันเทิงและภาคสิ่งทอได้ และภาคการส่งออกสามารถสามารถเป็นดัชนีชี้นำผลตอบแทนในภาคเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาคสิ่งทอและภาคพลาสติกเคมีภัณฑ์ได้ en
dc.description.abstractalternative This study intends to explain the competency of stock returns in industrial sector as an economic indicator in two periods of time, from 1993 to 1996 and from 1999 to 2002, and as the indicator for the export sector. The empirical test uses the technique of Granger Causality from Vector Error Correction model with application of monetary transmission mechanism through asset-price channel. For the pre-crisis period, we observe that the SET returns in energy, electronic component, and textile sectors could be considered as efficient indicators; whereas, the economic indicator could be indicator for the returns in communication and vehicle and parts sectors. However, for the post-crisis period, energy, vehicle and parts sectors are found to be leading economic indicators. Meanwhile, the economic indicator is was an indicator for electronic products and computer, entertainment and recreation and textile sectors in SET. In additional, we explore the competency of SET return as an economic indicator for the export sector. The analysis show that none of indicators from the set industrial sectors could perform efficiently. On the contrary, the export sector could be an indicator for the SET returns of electronic parts and computer, textiles, plastic and chemical products sectors. We could conclude that the SET returns do not affect the export sector; however, the export sector could indicate the performance of the SET returns. In sum, SET had proved to be an efficient economic indicator for Thai economy. We also discover that the export sector is another important factor of SET returns. The SET returns in energy and vehicle and parts could be efficiently used by the government as the economic cautions for the policies. For private sector, the economics growth could be used as an indicator for SET returns in electronic components and computer, entertainment and recreation, and textile sectors, as well as, the export sector for the returns of electric components and computer, textile, and chemical products sectors. en
dc.format.extent 31433287 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1027
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ตลาดหลักทรัพย์ en
dc.subject เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ en
dc.title ผลตอบแทนตลาดหลักทรัพย์ในการเป็นดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจกรณีประเทศไทย en
dc.title.alternative Stock returns as a leading economic indicator : case of Thailand en
dc.type Thesis en
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2003.1027


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record