Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคมกับความเด่นชัดของกลุ่มต่อการ ลดความไม่คล้องจองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมช่วยเหลือ และเป็นการตรวจสอบจากเอกลักษณ์ทางสังคม ในมุมมองของทฤษฎีความไม่คล้องจอง การทดลองนี้เป็นการเหนี่ยวนำให้รู้สึกเป็นคนมือถือสาก ปากถือศีล (hypocrisy) ภายใต้เงื่อนไขการสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนพฤติกรรม ความเด่นชัดกลุ่ม เน้นเอกลักษณ์ของกลุ่มแบ่งเป็น สูง ต่ำ หรือปัจเจกบุคคล ผู้ร่วมการทดลองเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน สุ่มอย่างง่าย (จับฉลาก) เข้าสู่เงื่อนไขหนึ่งใน 6 เงื่อนไข รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ 3 (ความเด่นชัดของกลุ่ม: ความเด่นชัดสูง ความเด่นชัดต่ำ และปัจเจกบุคคล) x 2 (การสนับสนุนทางสังคม: สนับสนุนทางสังคม และไม่สนับสนุนทางสังคม) ผลการวิจัย 1. ผู้ที่ได้รับ การสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อความมีน้ำใจน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการ สนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ร่วมการทดลองที่กลุ่มมี ความ เด่นชัดสูง และไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อความมีน้ำใจ ไม่แตกต่างจากผู้ร่วมการทดลองในเงื่อนไขอื่น 3. ผู้ร่วมการทดลองที่กลุ่มมีความเด่นชัดสูง และไม่ได้ รับการสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มมีชั่วโมงการช่วยเหลือมากกว่าผู้ร่วมการทดลองในเงื่อนไขอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้ร่วมการทดลองที่กลุ่มมีความเด่นชัดสูง และไม่ได้รับการ สนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มบริจาคเงินมากกว่าผู้ร่วมการทดลองในเงื่อนไขอื่นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 5. ผู้ร่วมการทดลองที่กลุ่มมีความเด่นชัดสูง และไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจาก กลุ่มมีการลดการประเมินความชอบต่อกลุ่มลงไม่แตกต่างจากผู้ร่วมการทดลองในเงื่อนไขอื่น