DSpace Repository

การคุ้มครองดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งคดี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารีณา ศรีวนิชย์
dc.contributor.author วิฑูรย์ เชื้ออำไพ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-02-05T11:55:36Z
dc.date.available 2012-02-05T11:55:36Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16724
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการพิจารณาว่าบุคคลใดควรถูกฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงเหตุผลตามควรแก่ความยุติธรรม แม้ถึงว่าบุคคลนั้นได้กระทำการครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ตาม ทำให้พนักงานอัยการมีฐานะเป็นกึ่งตุลาการ (Quasi judicially) ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งในด้านเนื้อหาคือ อิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือองค์กรใด และความเป็นอิสระในทางส่วนตัวคือ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยปราศจากความกลัวว่าจะได้รับผลร้ายหรือถูกกลั่นแกล้งในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 255 เป็นความสำเร็จเบื้องต้นในการนำองค์กรอัยการออกจากการเป็นหน่วยงานของฝ่ายบริหาร โดยบัญญัติให้มีหน่วยธุรการเพื่อบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่นเป็นของตนเอง กับทั้งรับรองความเป็นอิสระในการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีความอิสระและเป็นกลางเช่นเดียวกับผู้พิพากษา ดังนั้น เพื่อให้ความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญมีผลเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นที่ต้องเร่งการตรา พระราชบัญญัติรองรับความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นและใช้บังคับโดยเร็ว และควรกำหนดความคุ้มครองการใช้ดุลพินิจ ของพนักงานอัยการในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ไว้ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการแทรกแซง ขณะเดียวกันจักต้องมีกระบวนการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม โปร่งใสและเชื่อถือได้ en
dc.description.abstractalternative The authority of public prosecutor in making decision whether to prosecute the accused, regarding to reasonably justice, despite the accused was completely commits the offense. Hereby, the public prosecutor is so called “Quasi judicial”, where impartiality and freedom are must, either in duty exercise or privacy themselves, that is the public prosecutor must free to exercise his duty without fear of pernicious effect or vengeance. Constitution of Kingdom of Thailand B.E. 2550 section 255 is a primarily advance in separating public prosecutor organization of the administrative section, by regulation, Attorney General Office shall have an independence secretarial office, including personal and financial management and other administrative functions. The Constitution also explicitly provides freedom protection to the public prosecutor’s discretion in issuing orders and exercising duties by just. With the objective to testify freedom and impartiality like judge, comes out necessity to stimulate relevant statute legislation to give the protection effective clearly. By the way, efficient discretion’s revise is a must, on the purpose of fairness, transparency and accountability of discretion. en
dc.format.extent 1990553 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.98
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อัยการ en
dc.subject คำสั่ง (คดีอาญา) en
dc.subject อำนาจพิจารณาคดีอาญา en
dc.title การคุ้มครองดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งคดี en
dc.title.alternative The protection of public prosecutor's discretion in prosecution en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Pareena.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.98


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record