DSpace Repository

การใช้อินเทอร์เน็ตของประชากรไทย พ.ศ. 2551

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัฒนาวดี ชูโต
dc.contributor.author อิศรา ติยะสุขสวัสดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2012-02-05T13:07:41Z
dc.date.available 2012-02-05T13:07:41Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16748
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ศึกษาการใช้อินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของประชากรไทย โดยใช้ข้อมูลจาก “โครงการการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ปี พ.ศ. 2551” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้ตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง มีจำนวนทั้งสิ้น 93,023 คน ผลการวิเคราะห์การใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า ประชากรตัวอย่างมีการใช้อินเทอร์เน็ต 12.1% และมีค่าเฉลี่ยในการใช้อินเทอร์เน็ตเท่ากับ 3 ชั่วโมง 43 นาทีต่อเดือน หรือประมาณ 7 นาทีต่อวัน ส่วนผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุในระดับ 2 ตัวแปรพบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัว (ยกเว้นสถานภาพการทำงาน) มีความสัมพันธ์กับจำนวนเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต ในทิศทางที่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ในระดับหลายตัวแปรพบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัว (ยกเว้น ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพการทำงานและรายได้ครัวเรือน) มีความสัมพันธ์กับจำนวนเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตในทิศทางที่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนั้นปัจจัยด้านสังคมสามารถอธิบายการแปรผันของจำนวนเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตได้ดีที่สุด คือ 16.7% รองลงมาคือปัจจัยด้านการเข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านประชากร โดยอธิบายได้ 16.3% 15.2% และ 3.6% ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของจำนวนเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตได้ 26% ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 en
dc.description.abstractalternative To examine the use of the Internet among Thai population aged 6 years and over and factors influencing their uses. Data are derived from “the 2008 Information and Communication Technology Survey on Household” conducted by the National Statistical Office. The samples include 93,023 persons who replied the questionnaires by themselves. Findings indicate that about 12.1% of the samples use the Internet. The duration of Internet use per month is about 3 hours and 43 minutes. Based on the multiple classification analyses (MCA), the results of bivariate analyses show that all of the independent variables (except for employment status) are related, as hypothesized, to the duration at the 0.05 statistically significant level. Whereas in multivariate analysis, all of the independent variables (except for educational level, occupation, employment status and household income) are related to the duration in the same direction as in the bivariate analyses at the level of 0.05 statistical significance. In addition, the prime factor explaining the variation of the duration is social factors (16.7%), followed by household access to ICT factor (16.3%), economic factor (15.2%), and demographic factor (3.2%), respectively. Together, these four factors can explain the variation of the duration by 26% at 0.05 statistically significant level. en
dc.format.extent 1283370 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.835
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อินเตอร์เน็ต en
dc.subject ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต -- ไทย en
dc.title การใช้อินเทอร์เน็ตของประชากรไทย พ.ศ. 2551 en
dc.title.alternative Internet use of Thai population in 2008 en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor pattanawadee.x@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.835


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record