DSpace Repository

ปัจจัยกำหนดแบบแผนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย : กรณีศึกษานักท่องเที่ยวที่จัดการเดินทางมาเองจากเอเชียตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor จาริต ติงศภัทิย์
dc.contributor.author พัชญ์พิชชา บุลนิม, 2522-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2006-05-30T03:43:56Z
dc.date.available 2006-05-30T03:43:56Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9745317519
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/167
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดรูปแบบการใช้จ่าย ของนักท่องเที่ยวที่จัดการเดินทางมาเองจากเอเชียตะวันออก ได้แก่ นักท่องเที่ยวจีน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และศึกษาค่าความยืดหยุ่นของรูปแบบการใช้จ่ายต่างๆ ได้แก่ ที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าและของที่ระลึก ความบันเทิง และการเดินทางในประเทศและทัศนาจรจำเที่ยว โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสุ่มจากฐานข้อมูลโครงการสำรวจค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยว พ.ศ. 2545 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 660 ตัวอย่าง แล้ววิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง LA/AIDS ซึ่งกำหนดให้สัดส่วนการใช้จ่ายขึ้นอยู่กับต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าทั้ง 5 ประเภท ค่าใช้จ่ายที่แท้จริง เพศ อายุ อาชีพ วัตถุประสงค์การเดินทาง จำนวนผู้ร่วมเดินทาง ความถี่การเดินทาง ระยะเวลาพำนัก และฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวเดินทางมา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดสัดส่วนการใช้จ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ศึกษาโดยมีอิทธิพลทางบวก ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าอื่น โดยมีอิทธิพลทางลบ ตัวแปรค่าใช้จ่ายที่แท้จริง นอกจากนี้ตัวแปรด้านประชากรและลักษณะการเดินทางพบว่า มีอิทธิพลในการกำหนดสัดส่วนการใช้จ่ายบางประการ การศึกษาอีกส่วนหนึ่งเป็นการศึกษาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ผลการศึกษาพบว่า สินค้าและบริการทั้ง 5 ประเภท มีค่าความยืดหยุ่นต่อค่าใช้จ่ายมากกว่าศูนย์ ซึ่งแสดงว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าปกติ ส่วน Marshallian price elasticity พบว่าในทุกกรณีที่ศึกษาสินค้าและบริการทุกประเภท มีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาเป็นลบและมีค่าค่อนข้างต่ำ ส่วนค่าความยืดหยุ่นไขว้ของทุกกรณีมีค่าเป็นลบและมีค่าค่อนข้างต่ำ ซึ่งแสดงว่าสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวนี้เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน จากค่าความยืดหยุ่นที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มรายรับ จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย โดยใช้กลยุทธ์การเพิ่มราคาสินค้าซึ่งสามารถปฏิบัติได้หลายแนวทาง เช่น การเพิ่มคุณภาพสินค้า การกำหนดตำแหน่งทางกลยุทธ์การตลาด การเพิ่มสินค้าและบริการใหม่ๆ เป็นต้น en
dc.description.abstractalternative To determine factors affecting the expenditure patterns of non-package tourists from East Asia to Thailand i.e. Chinese, Hong Kong, Korean, Japanese and Taiwanese. And to estimate elasticities of demand for accommodation, food and beverage, shopping, entertainment, and domestic transportation and sightseeing activity by using 660 random samples which collected from foreign tourist's expenditure database compiled by the Tourism Authority of Thailand. This thesis applies the linear approximated almost ideal demand system (LA/AIDS) model of which stipulates expenditure share based on cost per unit of 5 groups of goods as mentioned above and also on real total expenditure, sex, age, occupation, purpose of visit, number of travel companion, travel frequency, length of stay and season. The consequence of this study has found that factors affecting the expenditure share statistically significant are that cost per unit of a good itself has positive affect but cost per unit of other 4 groups of goods turn to be negative. Besides, there are another factors such as real total expenditure, some demographic and travel variables. This thesis also studies elasticities of demand and has found that estimated expenditure elasticities of 5 goods groups are all positive, indicating that they are normal goods. The result of all Marshallian own-price elasticities are negative and inelastic. Also, Marshallian cross-price elasticities among 5 goods groups are negative which implies that these 5 goods groups have to be complementary goods. The results of these studies can be implemented as a policy implication in order to increase Thai tourism revenue by using increasing price strategis in may ways i.e. increasing goods and sevice quality, positioning market strategy, and creating new goods and services etc. en
dc.format.extent 2618310 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.638
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject นักท่องเที่ยวต่างชาติ--ไทย--ค่าใช้จ่าย en
dc.subject อุปสงค์ en
dc.subject ความยืดหยุ่น (เศรษฐศาสตร์) en
dc.title ปัจจัยกำหนดแบบแผนการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย : กรณีศึกษานักท่องเที่ยวที่จัดการเดินทางมาเองจากเอเชียตะวันออก en
dc.title.alternative Determinans of patterns of tourists expenditure in Thailand : case study of non-package tourists from East Asia en
dc.type Thesis en
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Charit.T@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.638


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record