Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิด ความรู้สึกในขณะกระท าการใดๆเพื่อยุติการมีชีวิตอยู่ และการผ่านพ้นช่วงวิกฤติของผู้ที่ผ่านประสบการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน ที่เข้ารับการรักษาตัวด้วยสาเหตุการทำร้ายร่างกายตนเองโดยมีเจตนาเพื่อให้ตนเองถึงแก่ชีวิต ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าความคิด ความรู้สึกในขณะกระท าการใดๆ เพื่อยุติการมีชีวิตอยู่ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การจมอยู่ในความทุกข์ใจ 2) ความรู้สึกอับจน หมดหนทาง 3) การสิ้นพลังในการมีชีวิต 4) การขาดสติ และการผ่านพ้นช่วงวิกฤติของผู้ที่ผ่านประสบการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การรับรู้เหตุการณ์ตามความเป็นจริง 2) กระบวนการเยียวยาจิตใจ 3) การมองเห็นคุณค่าของเหตุการณ์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สมาชิกภายในครอบครัว ผู้ให้การดูแลผู้พยายามฆ่าตัวตาย ตลอดจนนักจิตวิทยาการปรึกษาควรให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อแรงจูงใจในการฆ่าตัวตาย และกระบวนการเยียวยาจิตใจภายหลังการพยายามฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ อาจพิจารณาน าค าสอนประจ าศาสนาของผู้พยายามฆ่าตัวตายมาช่วยให้กระบวนการเยียวยาจิตใจภายหลังภาวะวิกฤติดียิ่งขึ้น