Abstract:
ไทเทเนียมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการใช้ผลิตรากเทียมทางทันตกรรม เนื่องจากมีคุณสมบัติทางกลที่เหมาะสม ด้วยความไวต่อการเกิดปฏิกิริยาของโลหะไทเทเนียม จะเกิดออกไซด์เองที่พื้นผิวตามธรรมชาติจากปฏิกิริยาแพสสิเวชัน โดยสารประกอบที่มีปริมาณ มากที่สุดคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ พื้นผิวรากเทียมเป็นบริเวณแรกที่มีเหตุการณ์ทางชีววิทยา เกิดขึ้น เชื่อกันว่าการยึดติดของเซลล์สร้างกระดูกนั้นน่าจะเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างเซลล์และชั้น ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่พื้นผิวโลหะไทเทเนียมนั่นเอง จนถึงปัจจุบันมีการปรับปรุงรูปร่างราก เทียม องค์ประกอบเคมี และลักษณะทางกายวิภาคของพื้นผิวรากเทียมที่หลากหลายแตกต่าง กันไป เพื่อให้รากเทียมเกิดการเชื่อมประสานกับกระดูกได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัจจัยที่มี ผลต่อการตอบสนองของเซลล์มีความสัมพันธ์กันอยู่ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่าการเชื่อม ประสานกับกระดูกที่ดีขึ้นนั้น เกิดจากอิทธิพลของการทดลองหรือเป็นเพราะไทเทเนียมได ออกไซด์บนพื้นผิวรากเทียมกันแน่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการตอบสนอง เบื้องต้นของเซลล์ได้แก่ การยึดติด และการแปรสภาพของเซลล์เอ็มซี3ที3-อี1 บนไทเทเนียมได ออกไซด์ฟิล์มที่เตรียมได้จากวิธีโซลเจล เปรียบเทียบกับกระจกสไลด์กลุ่มควบคุม โดยใช้กล้อง จุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดและชนิดแรงอะตอมศึกษาลักษณะพื้นผิวของฟิล์ม ใช้ เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างผลึก และทำการทดสอบความชอบน้ำ ของฟิล์ม ผลการศึกษาการตอบสนองของเซลล์พบว่า เซลล์ที่ยึดเกาะบนไทเทเนียมไดออกไซด์ ฟิล์มมีปริมาณมากกว่าบนกระจกสไลด์ในทุกช่วงเวลา โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ที่ 30 นาทีหลังการหว่านเซลล์ เซลล์บนไทเทเนียมไดออกไซด์ฟิล์มมีการแผ่ ตัวเร็วและกินพื้นที่มากกว่า โดยไม่พบความแตกต่างของการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอส ฟาเตสหลังวันที่ 3 และ 5 ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าเซลล์เอ็มซี3ที3-อี1มีการตอบสนองเบื้องต้นอย่าง รวดเร็วบนไทเทเนียมไดออกไซด์ฟิล์ม