Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพในการประกอบอาชีพ รูปแบบการเรียนรู้ และการเผชิญกับปัญหาในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 22 - 40 ปี มีการศึกษา ระดับปริญญาตรีขึ้นไป และมีงานทำแล้วหรือประกอบอาชีพส่วนตัว จำนวน 300 คน ผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยมาตรวัดรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมาตามแนวคิดของ Honey and Mumford (2006) มาตรวัดรูปแบบการเผชิญกับปัญหาตามแนวคิดของ Heppner, Cook, Wright, and Johnson (1995)และ มาตรวัดบุคลิกภาพในการประกอบอาชีพที่พัฒนามาจากทฤษฎีของ Holland (1985) ผลการวิเคราะห์การถดถอย แบบพหุคูณแสดงว่า 1. บุคลิกภาพด้านชอบความท้าทาย บุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น บุคลิกภาพด้านชอบศิลปะ บุคลิกภาพ ด้านชอบระเบียบแบบแผนและบุคลิกภาพด้านชอบสิ่งที่เป็นความจริง สามารถร่วมกันพยากรณ์การเรียนรู้แบบ นักกิจกรรมได้ร้อยละ 37.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 35.233, p<.001) 2. บุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น บุคลิกภาพด้านชอบระเบียบแบบแผนและบุคลิกภาพด้านชอบความท้า ทาย สามารถร่วมกันพยากรณ์รูปแบบการเรียนรู้แบบนักไตร่ตรองได้ร้อยละ 32.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 46.600, p<.001) 3. บุคลิกภาพด้านชอบระเบียบแบบแผน บุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น และบุคลิกภาพด้านชอบศิลปะ สามารถร่วมกันพยากรณ์รูปแบบการเรียนรู้แบบนักทฤษฎีได้ร้อยละ 42.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 72.997, p<.001) 4. บุคลิกภาพด้านชอบระเบียบแบบแผนและบุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น สามารถร่วมกันพยากรณ์ รูปแบบการเรียนรู้แบบนักปฏิบัติได้ร้อยละ 18.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 32.643, p<.001) 5. บุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น สามารถพยากรณ์รูปแบบการเผชิญกับปัญหาแบบไตร่ตรองปัญหาได้ร้อย ละ 27.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 114.764, p<.001) 6. บุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น สามารถพยากรณ์รูปแบบการเผชิญกับปัญหาแบบเก็บกดปัญหาได้ร้อยละ 29.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 123.456, p<.001) 7. บุคลิกภาพด้านชอบสืบค้น บุคลิกภาพด้านชอบสิ่งที่เป็นความจริง และบุคลิกภาพด้านชอบความท้า ทาย สามารถพยากรณ์รูปการเผชิญกับปัญหาแบบตอบโต้ปัญหาได้ร้อยละ 13.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 15.091 , p<.001)