Abstract:
การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีต่อระบบวนเกษตรแบบสวนบ้านในเมืองและชนบทได้ทำการวางแปลงศึกษาสวนบ้านไว้ 2 ส่วน คือ สวนบ้านในเมือง (จังหวัดนนทบุรี) และสวนบ้านในชนบท (จังหวัดขอนแก่น เชียงราย นครศรีธรรมราช และจังหวัดระยอง) การศึกษาแบ่งได้ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยราชการตามจังหวัดพื้นที่สวนบ้านที่วางแปลงศึกษา 2) โครงสร้างและลักษณะเชิงปริมาณของสวนบ้าน อาทิ ขนาดพื้นที่ศึกษา จำนวนต้น จำนวนชนิด ความสูง ึความโต (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับเพียงอก) ขนาดทรงพุ่ม ขนาดของชั้นเรือนยอด รูปแบบสวนบ้าน ดรรชนีความสำคัญ ความหลากหลายของสังคมพืช การกระจายทางแนวราบและแนวดิ่งของสังคมพืช โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างสวนบ้านในเมืองและชนบท 3) จำแนกประเภทชนิดพันธุ์ไม้ตามการใช้ประโยชน์และทำการเปรียบเทียบระหว่างสวนบ้าน และ 4) ข้อมูลแปลงสวนย้าน เจ้าของสวนบ้าน ตลอดจนทัศนคติต่าง ๆ ที่มีต่อแปลงสวนบ้านถึงประโยชน์และอุปสรรคปัญหาที่เจ้าของสวนประสบและต้องการความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเปรียบเทียบระหว่างสวนบ้านกับป่าธรรมชาติ สวนบ้านในประเทศกับต่างประเทศ การศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมของระบบวนเกษตรแบบสวนบ้านในประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อยอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สวนบ้านจัดเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับป่าธรรมชาติมากที่สุด เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีการบุกรุก คุกคาม หรือการขยายตัวของเมืองสูง โดยเฉพาะสวนบ้านในเมือง ส่วนบ้านเป็นรูปแบบที่มีการปฏิบัติกันภายในครอบครัวมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุา แต่เดิมสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นแบบเรียบง่าย รักความสงบ และเป็นสังคมชนบท การประกอบอาชีพยังคงรักษาจารีตประเพณีดั้งเดิม ผลผลิตที่ได้ใช้ภายในครอบครัว ให้เพื่อนบ้านหรือการแลกเปลี่ยน ที่เหลือจะนำจำหน่าย การปฏิบัติดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป พันธุ์ไม้ที่นำมาปลูกจะตามความต้องการของเศรษฐกิจและสังคม สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบครอบครัวขยาย ลูกหลานจะย้ายจากครอบครัวใหญ่ การปฏิบัติดูแลรักษาสวนบ้านจึงพบเฉพาะเจ้าของสวนที่มีอายุมากปฏิบัติเท่านั้น และพบว่าสวนบ้านในประเทศมีพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 2.64 ไร่ หรือ 0.42 เฮกแตร์ มีความหนาแน่นของพันธุ์ไม้เฉลี่ย 1,275 ต้น/เฮกแตร์ จำนวน 38 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นองค์ประกอบระหว่างไม้ผลกับไม้ยืนต้น ความโตของพันธุ์ไม้อยู่ระหว่าง 14.50-16.50 เซนติเมตร ความสูง 7.00-12.00 เมตร และสามารแบ่งชั้นเรือนยอดได้ 3.-4 ชั้น ในแง่ความสำคัญทางด้านนิเวศวิทยาพบว่า มะพร้าว หมาก มีความสำคัญที่สุดในแปลงสวนบ้าานของประเทศ รองลงมา คือ มะม่วง ลำไย ทองหลาง และสะเดาช้าง สำหรับความหลากหลายของสังคมพืชพิจารณาค่าโดย Shannon-Weaver indes (H) พบค่าเท่ากับ 3.044-4.255 ซึ่งความหลากหลายมีค่าสูงที่สุดในป่าดิบชื้น รองลงมาคือ ป่าดิบแล้ง ระบบสวนบ้าน ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ตามลำดับ ส่วนการนำผลผลิตจากพันธุ์ไม้มาใช้ประโยชน์ พบว่ามีการนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์มากที่สุดในทุกด้าน คือ เนื้อไม้ ผล ใบ และอื่น ๆ มีการนำไม้ยืนต้นมาใช้ในการก่อสร้าง ซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือทำฟืน สำหรับไม้ผลมีการเก็บจำหน่ายเป็นหลักสำคัญ กิ่งก้านใช้ทำฟืนได้ ไม้ดอก-ไม้ประดับใช้ในพิธีทางศาสนาและเทศกาลต่าง ๆ พันธุ์ไม้ในสวนบ้านมีการให้ผลผลิตตลอดทั้งปีเนื่องจากเจ้าของสวนบ้านมีการดูแลรักษาสวนบ้านตลอดปีมีการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง การกำจัดวัชพืช การปลูกพืชคลุมดิน พืชหมุนเวียน ตลอดจนการปลูกพืชร่วมแบบหลากหลายชนิด เป็นต้น สวนบ้านประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น น้ำที่ใช้รดต้นไม้เน่าเสีย ฤดูฝน น้ำมักท่วม ฤดูแล้งมักขาดแคลนน้ำ วัชพืชมาก ขาดแหล่งแรงงานว่าจ้าง ขาดการประกันราคาผลผลิต ไม่มีตลาดรองรับ ขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุน ตลอดจนขาดการส่งเสริมด้านองค์ความรู้ต่าง ๆ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของสวนบ้านต้องการความช่วยเหลือทั้งสิ้น