Abstract:
โครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ได้ทำการศึกษารายละเอียดของความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืชในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง ด้วยข้อมูลทุติยภูมิ เช่น รายงานการวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจ การรวบรวม และเก็บข้อมูล เพื่อนำมาซึ่งการวิเคราะห์ดรรชนีความหลากหลาย ทางสถิติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และเปรียบเทียบข้อมูลกับพื้นที่ศึกษาอื่นที่มีความสำคัญ และ/หรือพื้นที่คุ้มครอบอื่นๆ การศึกษาครั้งนี้ พบว่า สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช แหล่งสงวนชีวมณฑล ประกอบด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพควรที่จะได้รับการอนุรักษ์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร โดยมีสภาพป่าธรรมชาติที่มีลักษณะเด่นและคงอยู่ในสภาพดีและสมบูรณ์ ซึ่งผลของการศึกษาพื้นที่ป่าดิบแล้งมีความหนาแน่นประมาณ 744 ต้นต่อเฮกแตร์ มีชนิดพันธุ์ไม้ 136 ชนิด โดยพบตะเคียนหิน มีความหนาแน่นมากที่สุด และพบกระเบากลักมีความถี่สูงหรือมีการกระจายตัวโดยทั่วพื้นที่ และไทร มีความเด่นสูง และหากพิจารณาค่าดรรชนีความสำคัญของไม้ในป่าดิบแล้ง พบว่า กระเบากลัก กัดลิ้น และตะเคียนหิน เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้ระบบนิเวศขอป่าดิบแล้งดีขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่เด่นและมีความสำคัญมาก สำหรับพื้นที่ป่าเต็งรังมีความหนาแน่น 563 ต้นต่อเฮกแตร์ มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ 83 ชนิด โดยพบว่า เต็ง และรัง มีความหนาแน่นสูงสุด ส่วนประดู่มีความถี่สูงที่สุด และต้นสองสลึง มีความเด่นในพื้นที่ป่าเต็งรัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพันธุ์ไม้ที่มีความเด่นและสำคัญในพื้นที่ป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง และประดู่ สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพพิจารณาค่าดรรชนีโดย Shonnon-Weaver index (H) พบว่า ป่าดิบแล้งมีค่าเท่ากับ 5.322 ป่าเต็งรัง มีค่าเท่ากับ 4.321 ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ สำรวจพบชนิดพันธุ์ไม้ในป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง รวมทั้งสิ้น 307 ชนิด โดยจำแนกเป็นพันธุ์ไม้ในป่าดิบแล้ง 66วงศ์ 233 ชนิด ป่าเต็งรัง 53 วงศ์ 124 ชนิด เป็นชนิดพันธุ์ไม้หวงห้ามธรรมดา 97 ชนิด และชนิดพันธุ์ไม้หวงห้ามพิเศษ 2 ชนิด ได้แก่กำจัดต้น และจันทน์ขาว
Description:
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช -- สังคมพืชที่สำคัญในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช -- ความหมายและความสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ -- คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ -- วิกฤตตความหลากหลายทางชีวภาพ -- การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ -- สาเหตุการสูญเสียสรรพชีวิต -- ปัจจัยที่ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง -- ปัญหาและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ -- อนุสัญญาหลักที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ -- การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพกับแผนปฏิบัติการวาระที่ 21 -- กลยุทธ์เซวิลสำหรับพื้นที่สงวนชีวมณฑลในศตวรรษที่ 21 -- กลยุทธ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ -- การวัดความหลากหลายหรือความแผกผันของชนิดภายในสังคมพืช -- งานวิจัยและการศึกษาที่เกี่ยวขข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ