Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพัธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบำบัดในด้านการลดค่า BOD ของน้ำเสียกับปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว ปรอทในกากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา โดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำเสีย (pH ความสกปรกในรูปของ BOD COD ประสิทธิภาพการบำบัดในด้านการลดค่า BOD ปริมาณของแข็งแขวนลอยปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทน้ำเสียก่อนและหลังบำบัด) เพื่อสร้างสมการเส้นตรงในการทำนายปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทในกากตะกอน รวมทั้งศึกษาลักษณะสมบัติทางกายภาพและเคมีของกากตะกอน เพื่อนำกากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเสียจำนวน 27 ตัวอย่าง และตัวอย่างกากตะกอน 27 ตัวอย่าง ที่โรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา ทุกๆ 7 วัน ติดต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า ทีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 สมการเส้นตรงที่ใช้คาดการณ์ปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทในกากตะกอน ได้แก่ Y[subscript cd] = 0.010TDS - 3.267 Y[subscript Pb] = 0.0432 - 98.952Pb[subscript eff] + 0.0018SS และ Y[subscript Hg] = 0.463pH - 3.11 ตามลำดับ ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยาเท่านั้น ในกรณีที่ต้องการทราบค่าปริมาณโลหะหนัก (Cd, Pb และ Hg) ที่อยู่ในกากตะกอน กากตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยามีความเหมาะสมในการเกษตรกรรม เพราะมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสูงและมีโลหะหนักอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณโลหะหนักทั้งสาม (แคดเมียม 3.27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่ว 1.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอท 0.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอท 0.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ชนิดในกากตะกอนอยู่ในระดับที่ยอมให้มีได้ในดินที่ใช้ในการเกษตรกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (แคดเมียม 1.0-3.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่ว 100-550 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอท 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)