DSpace Repository

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชลัยพร อมรวัฒนา
dc.contributor.author พัฒนพงศ์ สุกิจปาณีนิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-03-03T08:05:47Z
dc.date.available 2012-03-03T08:05:47Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17343
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาบทบาททุนทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมกับการดำเนินการเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหา โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง กับฐานข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย อนึ่ง ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า บทบาทของทุนทางสังคมโดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจภายใต้พื้นฐานของความไว้วางใจ บรรทัดฐาน และค่านิยม เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ก่อให้เกิดความรู้ ทุนทางปัญญาและพลังร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งเอื้อให้เกิดการดำเนินการร่วมเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้างต้นพบว่า ทุนทางสังคมและทุนมนุษย์มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการจัดการความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการจัดการความรู้ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของทุนต่างๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเมื่อพิจารณาทุนทางสังคมกับการดำเนินการร่วม เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหา พบว่า ความสัมพันธ์เครือข่ายที่เน้นแฟ้นยิ่งขึ้น และบทบาทของสถาบันทางสังคมที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ส่งผลให้คนในชุมชนมีระดับความไว้วางใจที่สูงขึ้น ซึ่งความไว้วางใจที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการดำเนินการร่วมเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งหมายความว่า ระดับของการดำเนินการร่วมจะเพิ่มมากขึ้น หากคนในชุมชนมีความไว้วางใจกันมากขึ้น นอกจากนี้ พบว่า ทุนผูกพันทางสังคม ทุนสะพานเชื่อมต่อทางสังคม และทุนเชื่อมโยงทางสังคม มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการดำเนินการร่วมเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งในระดับบุคคล/กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย จะส่งผลให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน en
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to determine the roles of social capital on economic development in terms of analyzing their relationship as well as the relationship between social capital and procedure for solving problems. This study applies structural equation model using database from the National Statistical Office, Ministry of Social Development and Human Security, and Ministry of Interior. The results of content analysis can be summarized that the roles of social capital, especially the coordination based on trust, norms and values, lead to collaborative learning, intellectual capital, and integrated forces to improve and find the solutions. According to the results of the relationship analysis between social capital and economic development, the social capital and human capital have positive relations toward knowledge management at 0.05 statistically significant; in other words, the higher amount of social and human capital , the higher level of knowledge management. However, there are no explicit correlations between capitalization and economic development. Considering the social capitals and the collective actions for the developing and problem solving, it can be summarized that the higher profound network relationship and role of social institutions to make more social contribution have obviously brought about the trustfulness of human in the community with positive relationships toward collective action at 0.01 level of significance; in other words, level of collective action for the developing and problem solving will be increased providing that there exists a condition of trustfulness. Furthermore, bonding social capital, bridging social capital and linking social capital have direct relation with positive collective action for the developing and problem solving of 0.01 statistically significance. This means that, there will be profound relations within individuals, groups, organizations and networks in which make community members sharing collaborative developing to the solutions to the problems en
dc.format.extent 2222049 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1511
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ทุนทางสังคม en
dc.subject การพัฒนาประเทศ en
dc.title ทุนทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ en
dc.title.alternative Social capital and development of the nation en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chalaiporn.A@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1511


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record