DSpace Repository

การริดรอนสิทธิทางการเมืองและโทษทางอาญา : ศึกษากรณีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
dc.contributor.author ธงทอง นิพัทธรุจิ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-03-09T11:48:46Z
dc.date.available 2012-03-09T11:48:46Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17509
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 เป็นกฎหมายที่มีผลย้อนหลัง ในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรค โดยที่มิต้องคำนึงถึงเวลาที่ได้กระทำผิด ทั้งนี้ในปีพุทธศักราช 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยที่ 3-5/2550 ได้อาศัยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับดังกล่าว ทำคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองไทยรักไทยและมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จำนวน 111 คน และในคำวินิจฉัยนี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่า “มาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” มิใช่โทษในทางกฎหมายอาญาและสามารถบังคับใช้ให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการพิสูจน์ ว่า “มาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” นั้น ควรถือว่าเป็นสภาพบังคับทางอาญา และเมื่อมีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายอาญาแล้ว การลงโทษทัณฑ์ทางอาญาที่มีมาตรการทางอาญาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง รวมอยู่ด้วย จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า เพียงแต่ที่จะใช้“มาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ในรูปแบบของสภาพบังคับตามกฎหมายรูปแบบอื่น จากการศึกษาวิจัย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า มาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีลักษณะเป็นการจำกัดตัดสิทธิพื้นฐานของปวงชนชาวไทย ซึ่งมาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนี้ ได้เริ่มต้นมีขึ้นในรูปแบบของสภาพบังคับทางอาญา ในครั้งที่ประเทศไทยเริ่มต้นมีกระบวนการทางประชาธิปไตยโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสนับสนุน มาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในครั้งนั้นใช้เป็นบทลงโทษในทางกฎหมายอาญาเพื่อตอบโต้ต่อการกระทำที่เป็นภยันตรายต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย และได้บัญญัติไว้ในพระราช บัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งของประเทศไทย นับแต่ปีพุทธศักราช 2475 จนถึงฉบับปัจจุบัน โดยได้บัญญัติให้มาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนี้เป็นบทลงโทษควบคู่กับโทษจำคุกและปรับในทางกฎหมายอาญาแก่การกระทำความผิดทางอาญาข้อหาความผิดเดียวกัน โทษจำคุก ปรับ และมาตรการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้น ถือได้ว่า มีลักษณะเป็นการโต้ตอบต่อการกระทำความผิด ที่จัดว่าเป็นอาชญากรรมที่กระทำต่อกระบวนการทางประชาธิปไตยของชาติ ที่ต้องด้วยวัตถุประสงค์การลงโทษเพื่อแก้แค้นตอบแทนความเสียหายที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำลงแล้วต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นความสาสมต่อการกระทำอาชญากรรม เพราะเป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด ให้ต้องถูกตัดสิทธิขั้นพื้นฐานมิให้มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง ทั้งยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงโทษทางกฎหมายอาญาเพื่อข่มขู่และตัดโอกาสมิให้กระทำความผิดอีกด้วย en
dc.description.abstractalternative The Announcement of the Council for Democratic Reform Under the Constitutional Monarchy No. 27 on September 30, 2549 (B.E.) retroactively deprives political party’s executive members of election rights when it is proven that --regardless of the time of the commission of the act-- there is unlawful action committed under the name of the party and the political party was dissolved. To this effect, in the year B.E. 2550, The Constitutional Tribunal (Case No. 3-5/2550) dissolves Thai Rak Thai Party as well as deprives the electoral rights of its 111 executive members. The Tribunal contends that “The Deprivation of Election Rights” is not a criminal penalty and may be employed retroactively. This thesis finds that ‘the measure of deprivation of election rights’ in Thailand is a form of state act that constitutes the denial of the Fundamental Rights guaranteed to every citizen of Thailand. Since B.E. 2475, this measure has been used as a criminal penalty in response to the crime against democracy. The penal provisions were introduced in the country’s Election Law B.E. 2475. Similar provisions exist in the current election laws as well. The measure is to be used in conjunction with penal imprisonment and penal fine for the same offences such as election fraud. This measure has well served as the retributive sanction against the culprits who intend to destroy the fundamental principles of the country’s democratic system. It is the type of punishment that fits to the crime much better because it deprives the criminal of the same right that he or she has no respect for. Besides, this measure also serves as the deterrence as well as the incapacitation modes of the criminal justice system. This thesis proposes that “The Deprivation of Election Rights” should be clearly legislated as a type of penal punishment and it should be applied indiscriminately but with respect of the basic principle of criminal law. en
dc.format.extent 5472211 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1472
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความผิดทางอาญา -- การเลือกตั้ง
dc.subject การเลือกตั้ง -- สิทธิของพลเมือง
dc.subject สิทธิทางการเมือง
dc.subject Mistake (Criminal law) -- Mistake (Criminal law)
dc.subject Mistake (Criminal law) -- Civil rights
dc.subject Political rights
dc.title การริดรอนสิทธิทางการเมืองและโทษทางอาญา : ศึกษากรณีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง en
dc.title.alternative The deprivation of political right and penal punishment : a case study of disenfranchisement en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Apirat.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1472


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record