Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยเชิงพหุ เมื่อเกิดพหุสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ โดยเปรียบเทียบวิธีความถดถอยแบบริดจ์และวิธีความ ถดถอยบูตสแตรปแบบริดจ์ เกณฑ์การเปรียบเทียบที่ใช้ สาหรับการประมาณค่าแบบจุด คือค่าเฉลี่ยความ คลาดเคลื่อนกาลังสอง และสาหรับ การประมาณค่าแบบช่วง คือค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย ขั้นแรกพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นที่ได้จากแต่ละวิธีมีค่าไม่ต่ำกว่าค่า สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด ขั้นต่อไปทาการเปรียบเทียบค่า ความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น โดยทาการศึกษาภายใต้เงื่อนไขของการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนเป็นแบบปกติที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1, 5 และ 10 จานวนตัวแปรอิสระที่ใช้เท่ากับ 2, 3, 4 และ 5 ขนาด ตัวอย่างเท่ากับ 15, 30, 50 และ 100 โดยแบ่งระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระเป็น ต่ำ (0.3) ปานกลาง (0.6) และสูง (0.9) วิธีการประมาณค่า k ซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ริดจ์มี 3 วิธี คือวิธี KS วิธี New HKB และวิธี New LW และในการประมาณค่าแบบช่วงกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90, 0.95 และ 0.99 ตามลาดับ การวิจัยครั้งนี้ได้ทาการจาลองโดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลซึ่งกระทาซ้ำ 500 ครั้งในแต่ละสถานการณ์ ด้วยโปรแกรม R 2.8.1 ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. กรณีการประมาณค่าแบบจุด พบว่ามากกว่า 97% ของจานวนสถานการณ์จาลองทั้งหมด วิธีความถดถอยบูตสแตรปแบบริดจ์ให้ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกาลังสองน้อยที่สุด โดยที่ค่าเฉลี่ยความ คลาดเคลื่อนกาลังสองมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ ระดับความสัมพันธ์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจานวนตัวแปร อิสระเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกาลังสองมีค่าลดลงเมื่อขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้น 2. กรณีการประมาณค่าแบบช่วง พบว่า จากจานวนสถานการณ์จาลอง ทั้งหมด วิธีความ ถดถอยแบบริดจ์ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่าที่กำหนด มากกว่าวิธีความถดถอยบูตสแตรปแบบ ริดจ์ และ 66% ของสถานการณ์จาลองทั้งหมด วิธีความถดถอยบูตสแตรปแบบริดจ์ให้ค่าความยาวเฉลี่ย ของช่วงความเชื่อมั่นต่ำกว่าวิธีความถดถอยแบบริดจ์