DSpace Repository

สถานภาพของบุคลากรและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ปรมะ สตะเวทิน
dc.contributor.author วิรัช ลภิรัตนกุล
dc.contributor.author กรรณิการ์ อัศวดรเดชา
dc.contributor.author จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2006-08-15T07:16:35Z
dc.date.available 2006-08-15T07:16:35Z
dc.date.issued 2524
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1764
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง สถานภาพของบุคลากรและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยกระทำในลักษณะของการสำมะโน เพื่อรวบรวมหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยงานในประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งกระทำโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mail questionnaire) ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ และได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์และใช้ในการวิเคราะห์คืนมา 296 ชุด ผลของการวิจัยพบว่าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยมีอายุเพียง 47 ปีเศษหน่วยงานประชาสัมพันธ์กว่าครึ่งมีอายุไม่เกิน 10 ปี หน่วยงานประชาสัมพันธ์ 84.12% เป็นหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของเอกชน 10.81% และขององค์การไม่แสวงหากำไร 5.07% หัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ 72.14% สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป แต่ก็ยังมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่มีหัวหน้าหน่วยที่มีวุฒิเพียง ม. 6 (เดิม) หรือ ม.ศ. 3 2.85% มีผู้มีวุฒิปริญญาด้านประชาสัมพันธ์หรือนิเทศศาสตร์เป็นหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์เพียง 16.78% มีหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่มีปริญญาด้านประชาสัมพันธ์หรือนิเทศศาสตร์เข้ารับการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ 32.19% หัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ถึง 56.43% ไม่ได้ศึกษาหรือฝึกอบรมด้านประชาสัมพันธ์หรือนิเทศศาสตร์เลย มีหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่เคยปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์มาก่อนที่จะทำงานประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน 24.23% ในการปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานปัจจุบัน ปรากฏว่ามีหัวหน้าหน่วยงานประชาสัมพันธ์ถึง 79.21% ที่ทำงานในหน่วยงานปัจจุบันไม่เกิน 5 ปี ในขณะที่มีผู้ทำงานในหน่วยงานปัจจุบันเกิน 10 ปีเพียง 8.45% งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ ได้รับการจัดสรรในวงเงินที่ต่ำมาก 56.61% มีงบประมาณต่อปีไม่เกิน 1 แสนบาท ในขณะที่มีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่ได้รับงบประมาณต่อปีมากกว่า 1 ล้านบาทเพียง 12.50% นอกจากนั้นบางหน่วยงานไม่มีงบประมาณที่แน่นอน บางหน่วยงานไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ เพราะงานประชาสัมพันธ์ถูกจัดเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนี่งของหน่วยงานอื่น ในขณะที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์อีกส่วนหนึ่งไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้เลย อุปสรรคในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ด้านบุคลากรที่สำคัญ คือ การขาดแคลนเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ อุปสรรคด้านงบประมาณเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ไม่มีงบประมาณให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่ได้รับงบประมาณ ไม่กำหนดงบประมาณที่แน่นอนให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์และการมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยุ่งยาก อุปสรรคด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การไม่ได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหาร การขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ ระบบการดำเนินงานที่ไม่คล่องตัว หน่วยงานอื่น ไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของงานประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารไม่เข้าใจงานประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารไม่มีนโยบายที่แน่ชัดเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ และไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะที่มีงบประมาณและอำนาจในการปฏิบัติงานของตนเอง การแก้ไขอุปสรรคทั้งปวงต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารขององค์การ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจแนวคิดเรื่องการประชาสัมพันธ์ และตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อองค์การเสียก่อน การสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์จึงจะเกิดขึ้นได้ และอุปสรรคด้านบุคลากร งบประมาณ และอุปสรรคด้านอื่น ๆ จึงจะลุล่วงไปได้ en
dc.format.extent 40371723 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การประชาสัมพันธ์ en
dc.title สถานภาพของบุคลากรและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย : รายงานการวิจัย en
dc.type Technical Report en
dc.email.author Virat.L@Chula.ac.th
dc.email.author Jitraporn.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record