Abstract:
ยาเบื่อหนูชนิดอนุพันธ์คูมารินเป็นสาเหตุของความเป็นพิษที่พบมากที่สุดชนิดหนึ่งในสัตว์เลี้ยง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบหาความเป็นพิษของยาเบื่อหนูชนิดอนุพันธ์คูมารินใน สุนัข โดยการใช้ high performance liquid chromatography (HPLC) ร่วมกับ fluorescence detector เพื่อตรวจหายาเบื่อหนูชนิดต้านการแข็งตัวของเลือดจากพลาสมา และเปรียบเทียบกับ ค่าการแข็งตัวของเลือด activated partial thromboplastin time (APTT), One stage prothrombin time (OSPT) และ Thrombin time (TT) จากสุนัขทั้งกลุ่มที่สงสัยการได้รับสารพิษ และกลุ่มที่มีหลักฐานแน่ชัดว่าได้รับสารพิษชนิดนี้ ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าค่าการแข็งตัวของ เลือด และความเข้มข้นของยาเบื่อหนูชนิดต้านการแข็งตัวของเลือดรุ่นที่ 1 ในเลือดไม่มี ความสัมพันธ์กันโดยที่ค่าการแข็งตัวของเลือดยังคงเป็นปกติภายในวันแรกหลังจากการได้รับ สารพิษ จากการสอบถามประวัติการเบื่อหนูภายในบ้านจากเจ้าของสัตว์ป่วย และการ วิเคราะห์หายาเบื่อหนูชนิดอนุพันธ์คูมารินโดย HPLC พบว่าเหยื่อที่มีการนำมาใช้สำหรับเป็นยา เบื่อหนู และสัตว์เลี้ยงกินเข้าไปโดยไม่เจตนาคือ warfarin ผลการตรวจหาสารต้านการแข็งตัวของ เลือดจากเลือดสามารถยืนยันได้ว่า warfarin และ coumatetralyl ดูดซึมได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับ โดยการกิน จากการศึกษาย้อนหลังของรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาของสุนัขที่ได้รับพิษจากยาเบื่อหนู ชนิดต้านการแข็งตัวของเลือด แสดงถึงการมีเลือดออกอย่างรุนแรงตามอวัยวะสำคัญต่างๆ โดย อวัยวะที่พบจุดเลือดออกมากที่สุดคือตับ รองลงมาคือไต, ลำไส้, หัวใจ และปอด โดยสุนัขแต่ละตัว ที่ได้รับสารพิษนั้นมีความรุนแรงของการเกิดจุดเลือดออกที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับชนิดและ ปริมาณของสารพิษที่กินเข้าไป ตลอดจนสภาวะของตัวสัตว์เอง