Abstract:
ศิลปะการเชิดหุ่นเพื่อเล่นแสดงเป็นการมหรสพอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นมระดของชาติต่าง ๆ ที่เจริญยิ่งแล้วด้วยวัฒนธรรมในทั่วภูมิภาคของโลกมาช้านานนับปี จากหลักฐานที่ปรากฏชนชาติไทยมีการเล่นหุ่นเป็นเครื่องบันเทิงมาแต่สมัยที่พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี หุ่นที่นิยมเล่นกันในยุคนั้น คือ หุ่นหลวง ซึ่งได้รับความนิยมควบคู่มากับสิ่งบันเทิงอื่น ๆ ที่สำคัญอันได้แก่ โขนและละคร ความนิยมเช่นว่านี้ สืบเนื่องเจริญพัฒนามาจนแม้กระทั่งสิ้นยุคอยุธยา เข้าสู่กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ครั้นเวลาล่วงมาถึงแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้เกิดมีความนิยมหุ่นกระบอกขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว หุ่นกระบอกซึ่งได้แผ่อิทธิพลมาจากทางเมืองเหนือของไทยก็ได้กลายเป็นเครื่องเล่นมหรสพอันเป็นทีรู้จักดีเพื่องฟูอยู่ทั้งในกรุงเทพมหานครและมณฑลหัวเมืองสำคัญทั่วไป ในเวลานั้นได้เกิดมีคณะหุ่นกระบอกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้กจักดีขึ้นมากมายหลายคณะ ยุคนี้คทอยุคทองของศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกโดยแท้ เช่นเดียวกันกับศิลปะการแสดงแขนงอื่น ๆ ในยุคนั้นที่เริ่มเกิดมีขึ้นภายใต้ความอุปถัมภ์ของเจ้านาย โดยเกิดขึ้นในวังของเจ้านายเป็นส่วนมาก ดังนั้นเจ้าของคณะหุ่นกระบอกในยุคแรกเริ่มจึงเป็นพระราชวงศ์หรือผู้มียศตำแหน่งอันสูงในทางราชการ แล้งจึงค่อยแผ่กระจายมาอยู่ภายในความดูแลของผู้คนในฐานะสามัญ ในที่สุดหุ่นกระบอกได้กลายเป็นเครื่องนันทนาการบันเทิงประกอบอยู่ทั้งในงานพระราชพิธี และงานมหรสพทั่วไป อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความบันเทิงอย่างใหม่ ที่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หลั่งไหลสู่ประเทศไทยจากประเทศต่าง ๆ ทางตะวันตก ความนิยมหุ่นกระบอกที่เคยมีก็จืดจางลงดังเช่นเห็นในปัจจุบัน ส่วนวิวัฒนาการของหุ่นกระบอกในฐานะสื่อพื้นบ้านของไทยในภูมิภาคตะวันตกเท่าที่มีหลักฐานให้สืบเสาะศึกษาได้จะเห็นว่า เป็นอิทธิพลของคณะหุ่นกระบอกที่ได้เกิดขึ้นภายหลังที่หม่อมราชวงศ์เถาะ ได้นำศิลปะการแสดงชนิดนี้มาเผยแพร่ในกรุงเทพมหานคา ต่อจากนั้นก็เกิดมีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งพระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร ได้ทรงดำริสร้างคณะหุ่นกระบอกขึ้นเพื่อแสดงความบันเทิงภายในวัง และต่อมาก็นำออกรับงานแสดงทั่วไป คณะหุ่นกระบอกของพระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธรได้เข้ามาเล่นแสดงเป็นเครื่องมหรสพในจังหวัดต่าง ๆ หลายจังหวัดบริเวณภาคกลางของประเทศไทย รวมทั้ง ณ จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยความงดงามวิจิตรตระการของตัวหุ่นกระบอก และลีลาอ่อนหวานแช่มช้อยทางกระบวนการเชิด จึงก่อให้เกิดแรงประทับใจแลัวบันดาลใจให้ชาวบ้านคนหนึ่งในเขตท้องถิ่นแม่กลองนี้ คือ นายพลอย ช่วยสมบูรณ์และภรรยาชื่อสาหร่าย มีความปรารถนาใคร่จะมีคณะหุ่นกระบอกของตนเอง ประกอบกับขณะนั้นเป็นโอกาสอันดีของสามีภรรยา เนื่องจากแม่ครูเคลือบ นักเชิดหุ่นกระบอกฝีมือเอก ซึ่งเดิมสังกัดอยู่ในคณะหุ่นกระบอกของหม่อมรสชวงศ์เถาะ ได้มาพบกับคุณตาพลอยและคุณยายสาหร่าย ช่วงระยะเวลานี้อาจนับได้ว่าเป็นจุดแรกเริ่มของคณะหุ่นกระบอกต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตก ต่อมาคุณยายสาหร่ายและแม่ครูเคลือบได้ถ่ายทอดวิชาการเชิดหุ่นกระบอกให้แก่ศิษย์อีกท่านหนึ่งคือ นายวงศ์ ร่วมสุข ผู้เป็นเจ้าของคณะหุ่นกระบอกชูเชิดชำนาญศิลป์ แห่งอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ปัจจุบันคณะหุ่นกระบอกแม่สาหร่ายคงไม่มีโอกาสได้นเล่มแสดงแก่มหาชนได้ชมอีกต่อไป จะเหลือก็แต่เพียงหุ่นกระบอกคณะชูเชิด ชำนาญศิลป์เท่านั้นที่ยังคงสามารถออกรับงานได้เพื่อความบันเทิงของสังคม