dc.contributor.author | อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท | |
dc.contributor.author | พัชนี เชยจรรยา | |
dc.contributor.author | เมตตา วิวัฒนานุกูล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง | |
dc.date.accessioned | 2006-08-15T09:24:10Z | |
dc.date.available | 2006-08-15T09:24:10Z | |
dc.date.issued | 2536 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1784 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง "เทคโนโลยีสารสนเทศและบทบาทในการพัฒนาสังคมไทย" เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้บริหารในหน่วยราชการไทย กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ของรัฐ ผู้อยู่ในแวดวงวิชาการและวิชาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาถึงสถานภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยราชการไย 2. ศึกษาถึงวิธีการกระจายเผยแพร่สารสนเทศ 3. ศึกษาถึงผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5. แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ศึกษาถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาประเทศ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยราชการไทยนั้น หน่วยรายการไทยหลายแห่งมีคอมพิวเตอร์ใช้อย่างเพียงพอ และนิยมใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Microcomputer) มากที่สุด ลักษณะการใช้งานเป็นการใช้งานทั่วไปเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ข้อมูลเพื่องานภายในหน่วยงาน การเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานมีน้อย ขาดศูนย์รวมข้อมูล มีความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล 2. ผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศให้ผลทางด้านบวกมากกว่าด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นผลต่องานของหน่วยงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร สำหรับผลต่อการนำมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศยังคงอยู่ในระดับที่ไม่กว้างขวางมากนัก การให้บริการให้กับหน่วยงานภายนอกมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาภายในหน่วยงานเท่านั้น 3. ปัญหาและข้อจำกัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านความพร้อมและความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีของบุคลากร นอกจากนี้หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ยังขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้ พร้อมกับงบประมาณเพื่อใช้ซื้อเทคโนโลยียังคงไม่เพียงพอ การพิจารณาเลือกเทคโนโลยีมาใช้กับหน่วยงานมีขั้นตอนยุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาการจัดเก็บข้อมูลซึ่งยังคงไม่เป็นระบบเดียวกัน 4. แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยราชการไทยในอนาคต มีโครงการจะขยายการใช้มากขึ้นทั้งทางด้านจำนวน ระบบที่ใช้ การเพิ่มเครือข่ายและลักษณะการเชื่อมโยง และการให้บริการ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน | en |
dc.description.abstractalternative | The study of "Information Technology and Its Role in the Development of Thai Society," was conducted by quality research method in which data were collected from depth interview of executives in Thai government and private sectors, both those who involve in national policies and academic and professional experts in computer application. Additionally, data were gathered from a number of related document and paper. The purpose of the research is to study the following: 1) General condition of computer application, a kind of information technology and innovation, in Thai Governmental offices. 2) Status and effects of information technology on national development. 3) problem and obstacles of I.T. 4) Trends of I.T. in Thai government offices in future. From the research, it was found that 1) Most of Thai government offices have computers enough for use and microcomputer is the most popular kind, Computers have been applied far general or clercical work mainly, especially among offices is apparently little. No unified information center has been witnesses; and there has been overlapping data collection and filing in many offices. 2) In general, information technology has brought about positive rather negative either on the efficiency of office work (organizational work) or on interpersonal relations among members. However, it has not had widespread effect on national development yet and has not been used to serve public needs widely. (Therefare, it plays more role in improving internal work). 3) Main problems of computer application are the staffs' readiness and expertise in computer utilization. Almost all of Thai government offices lack personnels in such a field. Moreover, national budget for computers has always been insufficient and approval process is still time-consuming and very complicating. No standard data collection system is another major problem for Thai governmental offices. 4) In future, most offices plan to expand their computer application into wider and more efficient system, Offer more public service and information interchange, etc. | en |
dc.format.extent | 30190020 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การพัฒนาประเทศ | en |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | en |
dc.subject | สารสนเทศ | en |
dc.subject | การถ่ายทอดเทคโนโลยี | en |
dc.title | เทคโนโลยีสารสนเทศและบทบาทในการพัฒนาสังคมไทย : รายงานวิจัย | en |
dc.title.alternative | Information technology and its role inthe development of Thai society | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Orawan.P@Chula.ac.th |