Abstract:
โครงการวิจัยกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการในท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาข้อกฎหมายของชุมชนอย่างเป็นระบบ เพื่อแสวงหากฎหมายที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาและกฎหมายที่มีลักษณะควบคุมอันเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อนำไปสู่การศึกษาที่เป็นการพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับชุมชน ซึ่งจะนำไปใช้ในการบริการจัดการในท้องถิ่นต่อไป วิธีวิจัยดำเนินการโดย การศึกษาจากเอกสารโครงกาควิจัยของฝ่ายชุมชน การวิจัยภาคสนามและการจัดเวทีในประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กฎหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน และกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการองค์กรในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพราะบัญญัติให้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้สิทธิแก่ประชนทั่วไป ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และองค์กรปกครองท้องถิ่นที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดลัอมอย่างชัดเจน ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ส่วนใหญ่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ประชาชนและชุนไม่สามารถมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรอันเป็นฐานชีวติความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในชนบท ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการครอบครอง ใช้ประโยชน์และความไม่เท่าเทียมกัน เพราะเป็นกฎหมายดั้งเดิมที่ใช้มาเป็นเวลานานและยังมิได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งควรจะต้องหาทางแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว ส่วนกฏหมายที่เสริมสร้างการรวมตัวเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนส่วนใหญ่ที่มีในปัจจุบันไม่สอดคลอ้งกับวิถีของชุมชนในชนบทอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะมีขั้นตอนและข้อกำหนดที่เหมาะกับคนในสังคมเมืองมากกว่า กลุ่มคนที่รวมตัวกันในชนบทตามแบบประเพณีวัฒนธรรมขอท้องถิ่นไม่มีกฏหมายรองรับ จึงอาจต้องหารูปแบบของกฎหมายที่เหมาะสมมารองรับการดำเนินกิจกรรมของท้องถิ่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง สามารถเชื่อมต่อกับองค์กรทางการของรัฐในระดับต่าง ๆ ได้ กฏหมายการบริหารจัดการท้องถิ่นที่กระจายอำนาจการบริหารราชการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับต่าง ๆ การบริหารส่วนภูมิภาคที่ยังมีผลกับการจัดการภายในท้องถิ่น และการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่ส่วนร่วม จึงอาจต้องสร้างกระบวนการตรวจสอบที่เหมาะสมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา เสนอว่าในระยะต่อไปควรสนับสนุนการศึกษากฎหมายระบบการจัดการทรัพยากรที่ให้ประชาชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ ที่ดิน น้ำ ทรัพยากร ประมง และขยะ ของเสีย เป็นต้น และการเสริมกระบวนการเรียนรู้ กฎหมาย ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยงข้องได้แก่ ชุมชน องค์กร กลุ่มเกษตรกร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Description:
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ; ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ; ทรัพยากรน้ำ ; ทรัพยากรประมง -- องค์กรชุมชนท้องถิ่น -- การบริหารจัดการองค์กรปกครองท้องถิ่น -- กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ: กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ ; กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ; กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำและการประมง ; กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ -- กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นที่สำคัญ -- ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -- ปัญหาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน -- ปัญหาเกี่ยวกับองค์กรและการบริหารจัดการ -- ผลการสำรวจการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น -- กรณีศึกษาประเด็นปัญหาขของกลุ่ม/องค์กรต่างๆในชุมชน