Abstract:
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้ประเทศไทยจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งทรัพยากรในด้านอื่น ๆ มาช่วยกันเพื่อการนี้ รัฐบาลได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางทั้งภายในและภายนอกประเทศ ร่วมมือกับนานาชาติ ด้วยความตระหนักดีว่า ปัญหายาเสพติดอาจมีส่วนชักนำให้เกิดปัญหาสังคมหมุนเวียน เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาโสเภณี ซ่องโจร และการพนัน เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมามีความกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนถึงด้านเศรษฐกิจด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยาเสพติดก็ยังคงระบาดในหมู่เยาวชนหรือเด็กวัยรุ่น มิได้บรรเทาเบาบางลงไป ดูเหมือนว่าจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ยิ่งนานวันปัญหาเหล่านี้ก็ยิ่งทับถมและเรื้อรัง เป็นสิ่งที่ยากต่อการแก้ไขเป็นทวีคูณ มาตรการทางกฎหมายที่ใช้สกัดกั้นยาเสพติด เป็นมาตรการที่สำคัญมาในอันที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเยาเสพติด เพราะการดำเนินการจะต้องมีระเบียบ แบบแผน และหลักเกณฑ์ที่แน่นอน สิ่งเหล่านี้ย่อมได้มาจากมาตรการางกฎหมายที่วางไว้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มาตรการทางกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการจะปราบปรามป้องกันหรือการบำบัดรักษาผู้เสพติด มิฉะนั้น การแก้ไขปัญหาจะต้องประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การกำหนดมาตรการางกฎหมายที่ดี จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้านนับตั้งแต่ การทำความรู้จักเกี่ยวกับยาเสพติด ประเภทของยาเสพติด ลักษณะและโทษของยาเสพติด สาเหตุที่ทำให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งภายในและต่างประเทศ การวิวัฒนาการของกฎหมายที่มีมาในอดีต การศึกษาองค์ประกอบหลายด้าน จะทำให้ได้มาตรการางกฎหมายที่สอดคล้องกับปัญหาตามสภาพเท็จจริงที่เกิดขึ้น กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทย เริ่มมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน กฎหมายยาเสพติดที่ยังคงมีผลบังคับใช้ คือ 1. พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 3. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 4. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 5. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่มาตรการทางกฎหมายที่กระจายอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับที่กล่าวมาทั้ง 5 ฉบับนี้ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่า เป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะหยิบยกมาแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบันให้หมดสิ้นไปได้ ด้วยสาเหตุที่ว่า 1. พระราชบัญญัติบางฉบับมีมาตรการทางกฎหมายล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับปัญหาในขณะนี้ 2. มาตรการบางประการ ก็สมควรที่จะยกเลิกได้แล้ว เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ 3. การที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทำให้ต้องบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับภาคีสมาชิก มาตรการทางกฎหมายบางอย่างไม่อาจนำมาแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผล 4. พระราชบัญญัติบางฉบับมิได้เอื้ออำนวยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้โดยสะดวก เนื่องจากไม่ได้ให้อำนาจเย่างเพียงพอ หรือโดยแจ้งชัดดังนั้น การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหายาเสพติดในแง่กฎหมายต้องค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม นำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่กล่าวมาแล้ว การดำเนินการวิจัยได้ แบ่งเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยสนาม (Filed Research) เป็นการสำรวจทัศนคติของบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด และนำมาสรุปเพื่อให้ได้มาตรการทางกฎหมายที่ดีตามวัตถุประสงค์