dc.contributor.author |
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ |
|
dc.contributor.author |
เสถียร รุจิระวณิช |
|
dc.contributor.author |
วินัย สมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
ธนพรรณ สุนทระ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาะแวดล้อม |
|
dc.contributor.other |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม |
|
dc.date.accessioned |
2006-08-15T12:05:54Z |
|
dc.date.available |
2006-08-15T12:05:54Z |
|
dc.date.issued |
2531 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1805 |
|
dc.description.abstract |
ปัญหามลพิษจากการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสิ่งแวดล้อมนั้นความสัมพันธ์โดยตรงต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ภายใต้แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ภายใต้แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 โดยที่รัฐมืได้กำหนดนโยบายหรือแนวทางในการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม และการเยียวยาประชาชนที่ได้รับเอามลพิษาจากโรงงานอุตสาหกรรมไว้เลย ในขณะเดียวกันปรากฏข้อเท็จจริงเกิดขึ้นมาแล้วว่ามีประชาชนได้รับมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมสะสมอยู่ในร่างกายจนเกิดโรคขึ้นมาแล้ว แต่ประชาชนเหล่านั้นมิได้เรียกร้องสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่เป็นต้นเหตุทำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญและเสียหายนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องโดยตรงจากผู้ก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรรับให้เรียกร้องได้ หรือจากการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล ซึ่งในกรณีนี้ผู้เสียหายจะพบกับปัญหาและอุปสรรคจากกระบวนวิธีพิจารณาความที่จะทำให้ผู้เสียหายมีโอกาสชนะคดีได้น้อยมาก เนื่องจากตามกฎหมายแล้วภาระหน้าที่ในการนำสืบถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่ได้รับจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรม กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้นตกเป็นของผู้กล่าวอ้างซึ่งเป็นผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ฟ้อง ด้วยเหตุนี้ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหายต่อสุขภาพจากมลพิษจึงน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดหมายว่าคงจะต้องผ่านพ้นช่วงของการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 เสียก่อน เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่รัฐมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งยังไม่เหมาะสมนัก เพราะอาจจะเป็นการบั่นทอนความประสงค์ของการลงทุนได้ อย่างไรก็ตามแนวทางของรูปแบบกองทุนทดแทนฯนี้ ควรจะประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ของกองทุนทดแทนฯ เพื่อเป็นการเยียวยาผู้เสียหาเช่นเดียวกับของญี่ปุ่น และเป็นการอนุรักษ์สิงแวดล้อมจากการถูกทำลายของโรงงานอุตสาหกรรม 2. การรวบรวมเงินเข้ากองทุนทดแทนฯ แยกเป็น 2 วิธีคือ (1) กรณีที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่จัดตั้งแล้วและได้ดำเนินการแล้ว การเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนจะทำควบคู่ไปกับการพิจารณาต่ออายุในอนุญาตในแตาละปี (2) กรณีที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ ให้เรียกเก็บเงินพร้อมกับการพิจารณาใบอนุญาตขอจัดตั้งโรงงานฯ 3. ขอบเจตของการจ่ายเงินทดแทน ครอบคลุมถึง (1) ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้กับประชาชนผู้เสียหาย (2) ค่าทำความสะอาดพท้นทีที่เกิดมลพิษจากการดำเนินการของโรงงานอุตสาหกรรม 4. หน่วยงานที่รับผืดชอบในการบริหารกองทุนทดแทนฯ มอบให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ
Noted: คณะนิติศาสตร์ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิญี่ปุ่น |
en |
dc.format.extent |
93472299 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สวัสดิการลูกจ้าง |
en |
dc.subject |
โรคเกิดจากอาชีพ |
en |
dc.subject |
กองทุนทดแทน |
en |
dc.subject |
อาชีวอนามัย |
en |
dc.title |
การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนทดแทน ความเสียหายต่อสุขภาพจากมลพิษ : รายงานผลงานวิจัย |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
Sunee.M@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Satien.R@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Thanaphan.S@chula.ac.th |
|