dc.contributor.advisor |
พิมพ์มณี รัตนวิชา |
|
dc.contributor.author |
กุลธิดา วรรณยศ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2012-04-15T12:07:10Z |
|
dc.date.available |
2012-04-15T12:07:10Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19047 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอสินค้าออนไลน์ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายสำหรับการนำเสนอสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ได้แก่ (1) ภาพนิ่งมีการปฏิสัมพันธ์ (2) วิดีโอไม่ประกอบคำบรรยาย (3) ประสบการณ์เสมือนจริง และ (4) มัลติมีเดียประกอบคำอธิบายฟังก์ชันการใช้งาน เพื่อให้ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้โดยสอดคล้องกับสินค้าที่มีขายบนเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ประเภทสินค้าที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้จึงประกอบด้วย (1) สินค้าแบบค้นหา และ (2) สินค้าแบบใช้ประสบการณ์ โดยมีตัวแทนสินค้าแบบค้นหา คือ หนังสือแนะนำการท่องเที่ยว และตัวแทนสินค้าแบบใช้ประสบการณ์ คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่น่าจะมีความเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อ (1) การรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ อันประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ การรับรู้ความง่าย การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสนุกสนาน และการรับรู้ความเสี่ยง (2) ความตั้งใจซื้อ และ (3) ความตั้งใจกลับมายังเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมีตัวแปรกำกับเป็นเพศของผู้ซื้อ โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 10 เว็บไซต์ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์จะแสดงรูปแบบการนำเสนอสินค้าออนไลน์และประเภทสินค้าที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยเว็บไซต์สำหรับกลุ่มทดลอง จำนวน 8 เว็บไซต์ และเว็บไซต์สำหรับกลุ่มควบคุม จำนวน 2 เว็บไซต์ สำหรับการเก็บข้อมูลเป็นการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 400 คน |
en |
dc.description.abstractalternative |
The primary objective of this study was to conduct an investigation on the four types of online product presentation formats that applied widely in current e-commerce websites: (1) static picture-with-interactivity, (2) video-without-narration, (3) virtual product experience (VPE) and (4) multimedia-based product annotation (MPA). In order to increase the generalization of the results, two product types used in the study were (1) search product (for example, a book) and (2) experience product (for example, a smart phone). Three major dependent variables in the study were (1) consumer perceptions of website quality which consisted of four dimensions: perceived ease of use, perceived usefulness, perceived enjoyment and perceived risk (2) purchase intention and (3) intention to return to e-commerce website. Customer's gender was also examined as a moderating variable in this study. Eight websites for experimental group and two websites for control group (5 online product presentation formats x 2 product types) were developed for laboratory experiment. Data were collected from 400 subjects in Chulalongkorn |
en |
dc.format.extent |
7803315 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.609 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
en |
dc.subject |
การตลาดอินเตอร์เน็ต |
en |
dc.title |
ผลกระทบของรูปแบบการนำเสนอสินค้าออนไลน์ ประเภทสินค้า และเพศของผู้ซื้อที่มีต่อการรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ ความตั้งใจซื้อ และความตั้งใจกลับมายังเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
en |
dc.title.alternative |
Impact of online product presentation formats, product types and customer's gender on perceptions of website quality, purchase intention and intention to return to electronic commerce website |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.609 |
|