Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (ITPGR) กับผลกระทบที่พึงจะเกิดขึ้นต่อไทย โดยเน้นศึกษาผลกระทบใน 5 ประเด็นคือ สิทธิเกษตรกร ความมั่นคงด้านอาหาร โลกร้อน การแสวงหาผลประโยชน์จากต่างชาติ และการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ รวมถึงสาเหตุที่เกิดสนธิสัญญาฉบับนี้ การดึงภาคีสมาชิกร่วม เหตุที่ไทยเร่งลงนาม และกรณีศึกษา โดยผู้ศึกษาได้แยกคู่ขัดแย้งออกเป็นเป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีทรัพยากรพันธุกรรมพืช (ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มนี้) กับ 2. ประเทศพัฒนาแล้ว ไม่มีทรัพยากรฯ แต่มีเสาหลักด้านการเงิน ความรู้ จากนั้นใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ Relational Power, Structural Power และ 4 เสาหลัก คือความมั่นคง การผลิต การเงิน และความรู้ มาวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาที่วางไว้ข้างต้น สำหรับผลทีพึงกระทบต่อไทย พบว่า มีผลทางทางลบมากกว่าผลดี โดยเฉพาะสนธิสัญญาฯเปิดช่องให้มีการจดสิทธิบัตรในกรณีการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการฉกฉวยพันธุกรรมพืชของไทย โดยเฉพาะข้าว และมันสำปะหลัง นอกจากนี้ความไม่พร้อมของไทยในด้านอื่นๆ เช่น บุคลากร เทคโนโลยี ฯลฯ ดังนั้นไทยควรชะลอการลงสัตยาบัน หากจำเป็นก็ให้ใช้ช่องทางอื่นไปก่อน เช่น การร่วมมือกับศูนย์ IRRI และควรเตรียมความพร้อมหากจำเป็นต้องเข้าร่วมในอนาคต