dc.contributor.advisor |
ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ |
|
dc.contributor.author |
ยุธิดา มิจินา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-05-04T15:04:23Z |
|
dc.date.available |
2012-05-04T15:04:23Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19452 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ฮาบิตุส และอัตลักษณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชายในฐานะกลุ่มอาชีพหนึ่ง โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มที่ศึกษาทั้งแบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ร่วมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย คือ การที่พวกเขารับรู้ว่าตนเองเป็นคนที่รักอิสระ ไม่ชอบทำงานซ้ำซากจำเจ ชอบเดินทาง มีใจรักงานบริการ และจากการที่พวกเขาเหล่านั้นได้ปฏิบัติงานมานานพอสมควร สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมและ ขัดเกลาให้พวกเขามองว่าผู้ที่ทำอาชีพนี้ต้องเป็นคนที่ตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารบนเครื่องบินอย่างยิ่งยวด นอกจากนี้พวกเขายังมีมุมมองต่อภาพลักษณ์ของอาชีพนี้ว่าต้องเป็นคนที่ดูดีสะอาดสะอ้าน รูปร่างดี ดูสง่างาม จึงทำให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชายมีแนวโน้มชอบออกกำลังกายที่ฟิตเนส หรือสปอร์ตคลับ สำหรับสิ่งที่พวกเขามีความชอบคล้ายกันก็คือ ชอบที่จะท่องเที่ยวยามราตรี นิยมชมภาพยนตร์ ดูละครเวที หรือชอปปิ้ง หากมองระดับชั้นทางสังคมของอาชีพนี้ก็อาจกล่าวได้ว่า เป็นอาชีพที่อยู่ในชนชั้นกลางในสังคมเมืองที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ซึ่งการแสดงสัญลักษณ์นอกเวลางานอาจสื่อสารได้ไม่ชัดเจนเท่ากับเวลางานที่พวกเขาสวมใส่เครื่องแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่างจากชนชั้นกลางในเมืองก็ คือ พวกเขาจะแสดงภาพของกลุ่มบุคคลเพศชายที่มีบุคลิกภาพที่ดี รูปร่างดี และดูสะอาดสะอ้าน ทั้งนี้ เนื่องจาก ทุกคนล้วนถูกขัดเกลามาจากการอบรมในหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ามาทำงาน และนอกจากนี้สมาชิกในสังคมกลุ่มเพื่อนของพวกเขามักจะคลุกคลีอยู่กับคนในกลุ่มอาชีพเดียวกัน จึงทำให้เกิดกระบวนการผลิตซ้ำด้วยการปฏิสังสรรค์ทางสังคมกับกลุ่มคนอาชีพเดียวกัน และขัดเกลาให้ผู้ชายกลุ่มอาชีพนี้แสดงภาพลักษณ์ของผู้ชายที่มีบุคลิกภาพดี |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study is to perceive the identity of male flight attendants in context of their economic capital, social capital and cultural capital. The study employs the qualitative method, collecting data by informal interviews, in-depth interviews and participant observations.
The result found that male flight attendants perceive their identity as being independent, prefering to work with various kind of jobs, travelling and being service minded. Work experiences and trainings made them realize that security of passengers is a priority. Furthermore, they also prefer to be good looking and magnific persons. They spend time frequently at fitness or sport clubs. They have common habit of going out at night, seeing movies or theater shows and shopping. Their lifestyle therefore is that of urban middle class with relatively high income. These characteristics show up clearly when they wear their uniforms. However, they are different from other middle class in general in their presentation of their image as a group of good-looking male with pleasant personality. This results from their previous training prior to the assignment of the job as well as a close association among the flight attendants themselves. |
en |
dc.format.extent |
1142110 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.title |
อัตลักษณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย |
en |
dc.title.alternative |
IDentity of male flight attendants |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
สังคมวิทยา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Preecha.K@Chula.ac.th |
|