dc.contributor.advisor |
อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ |
|
dc.contributor.author |
หทัยรัตน์ โชคชูวัฒนาเลิศ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-05-08T03:04:44Z |
|
dc.date.available |
2012-05-08T03:04:44Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19488 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อหาแนวทางกฎหมายที่เหมาะสม ในการให้ความคุ้มครองปัญหาจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ใน 2 กรณี ได้แก่ 1) ปัญหาการนำคีย์เวิร์ดที่เป็นเครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้า และชื่อโดเมนของผู้อื่นมาใส่ใน Meta tag ของเว็บไซต์และ 2) ปัญหาการขายคีย์เวิร์ดที่เป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นให้กับผู้ลงโฆษณาบนเว็บโปรแกรมค้นหา ในการศึกษาวิจัยจะศึกษาค้นคว้าจากบทบัญญัติทางกฎหมาย หนังสือ เอกสารและบทความทางวิชาการ ตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องชื่อทางการค้า สามารถให้ความคุ้มครองสิทธิผู้ที่เป็นเจ้าของคีย์เวิร์ด จากการที่มีบุคคลอื่นนำไปใช้ในการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบได้ โดยการปรับใช้หลักฐานเรื่องละเมิด มาตรา 420 และมาตรา 421 และหลักสุจริต มาตรา 5 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาพิจารณาประกอบ และสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เรื่องการควบคุมโฆษณา หากเป็นการใช้คีย์เวิร์ดในการโฆษณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกด้วย
แต่กฎหมายข้างต้นยังคงมีข้อกำจัดบางประการ ทำให้คุ้มครองได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งวิธีการนำคีย์เวิร์ดไปใช้กับโปรแกรมค้นหาทั้งสองกรณี ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นการกระทำความผิดโดยตรง การวินิจฉัยปัญหาจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลในการตีความและปรับใช้กฎหมาย ทำให้เจ้าของคีย์เวิร์ดอาจไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดแนวทางการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายที่ชัดเจนว่า คีย์เวิร์ดที่ใช้เป็นสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และการนำไปใช้การทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหาก็สามารถกระทำได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้อย่างเหมาะสมและโดยชอบด้วยกฎหมาย |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is a comparative study on legislative provisions on search engine markting on internet. The study concentrates in two areas 1) Problem of using of trademark, trade name, and domain name as a keyword in meta tag in websites and 2) Problem of selling trademark as keyword trigger ad. The research is based mostly on Thai and foreign existing legislations and all sources of academic papers and articles as well as various court percedents by comparing mainly to United States of America. The research shows current Thai legislations, which are Trademark Act B.E. 2534 in regard to trademark protection and Civil and Commercial Code in regard to trade name protection, are able to provide coverage for rights of keyword owner in regard keyword being used by others for search engine marketing. By adapting section 420, section 421 and section 5 of Civil and Commercial Code, as well as Consumer Protection Act B.E. 2522 in regard to advertising controls. Nevertheless, these legislations seem to have restrictions that result in limitation of full protection and lack clear definition of direct wrong doing. The courts must use judicial discretion for decisions which keyword owner may not be fully protected. This study has proposed clearer definition of legislations to extend protection coverage and allows the use of keywords in search engine marketing under justitfied purposes and within scopes of legal fair use. |
en |
dc.format.extent |
3112442 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.349 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
เสิร์ชเอ็นจิน |
en |
dc.subject |
การค้นหาทางอินเตอร์เน็ต |
en |
dc.subject |
การตลาดอินเตอร์เน็ต |
en |
dc.subject |
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 |
en |
dc.subject |
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 |
en |
dc.subject |
เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
en |
dc.subject |
การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
en |
dc.title |
ปัญหากฎหมายที่เกิดจากการทำการตลาดผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต |
en |
dc.title.alternative |
Legal problems on search engine marketing on internet |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Eathipol.S@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.349 |
|