DSpace Repository

การทำนิติกรรมและมรดกของพระภิกษุที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
dc.contributor.advisor ไพโรจน์ กัมพูสิริ
dc.contributor.author จักรพัฒน์ โรจน์อารยานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-05-09T05:55:18Z
dc.date.available 2012-05-09T05:55:18Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19525
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract กฎหมายลักษณะผัวเมียของไทยในอดีตนั้น บัญญัติให้สามีภริยาขาดจากกันเมื่อสามีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา แต่ตามมาตรา ๑๕๐๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปัจจุบัน การที่สามีอุปสมบทเป็นพระภิกษุไม่ได้เป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงแต่อย่างใด ดังนั้น ในทางกฎหมาย ท่านก็ยังมีสถานภาพเป็นสามีมีสิทธิ หน้าที่ต่างๆ ตามกฎหมายเช่นเดียวกับสามีทั่วไป รวมถึงท่านอาจจะมีความจำเป็นต้องจัดการทรัพย์สินอันเป็นสินสมรส โดยกระทำผ่านทางนิติกรรมสัญญา ซึ่งอาจมีการได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินทอง อันทำให้ท่านกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยซึ่งเป็นพระพุทธบัญญัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๓๗๗๓/๒๕๓๘ รับรองสิทธิของพระภิกษุในการทำนิติกรรมสัญญาที่พระภิกษุได้รับค่าตอบแทนเอาไว้ด้วย โดยให้เหตุผลว่า “นิติกรรมสมบูรณ์ เพราะไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด” แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะขัดต่อพระธรรมวินัยอย่างชัดเจนก็ตาม นอกจากนี้ หากสามีที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ทรัพย์สินใดมาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ ซึ่งในมาตรา ๑๖๒๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น นักกฎหมายส่วนใหญ่ตีความว่า “ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างสมณเพศ” รวมถึงทรัพย์สินทุกประเภท ไม่ว่าท่านจะได้มาโดยทางใด และไม่ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะอยู่ในวัดหรือไม่ โดยมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักว่า หากทรัพย์สินนั้นเป็นที่ดิน ที่ดินนั้นจะตกเป็นสมบัติของวัดและจะกลายเป็น ที่ธรณีสงฆ์ทันทีที่พระภิกษุมรณภาพลง ซึ่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น ที่ธรณีสงฆ์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี กอปรกับแนวคำวินิจฉัยของกรมที่ดินซึ่งวางแนวปฏิบัติไว้ว่า ที่ดินที่สามีที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ ไม่ถือเป็นสินสมรสในทุกกรณี และที่ดินจะต้องตกเป็นสมบัติของวัดทั้งหมด ซึ่งเมื่อพระภิกษุมรณภาพ ภริยาจะไม่สามารถขอแบ่งได้เลย ทั้ง ๆ ที่โดยหลักกฎหมายครอบครัวแล้ว การอุปสมบท ไม่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลง ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรส ภริยาย่อมมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินได้ นอกจากนี้ หากพระภิกษุได้ก่อหนี้เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินนั้นไว้ก่อนมรณภาพ หากทรัพย์สินนั้นเป็นที่ดินแล้ว ก็จะเกิดปัญหาในการบังคับเอาทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เพราะการโอนที่ธรณีสงฆ์นั้น จะทำได้ก็แต่โดยตราเป็นพระราชบัญญัติ ฯ ซึ่งแม้จะได้โอนที่ดินให้เจ้าหนี้ตามสัญญาแล้ว การโอนดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั่นเอง จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า ในการประชุมยกร่าง มาตรา ๑๖๒๓ บรรพ ๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น คณะกรรมาธิการยกร่างมิได้มุ่งหมายที่จะให้คำว่า “สมบัติ” ของวัด หมายรวมถึง “ที่ธรณีสงฆ์” ซึ่งมีลักษณะทางกฎหมายใกล้เคียงกับ “ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน” แต่อย่างใด ทั้งปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๓๙/๒๔๗๙ ที่วินิจฉัยว่า “สมบัติ” ของวัด ตามมาตรา ๑๖๒๓ คือ ทรัพย์สินที่เหลือจากการใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ของพระภิกษุผู้มรณภาพจนครบจำนวนแล้ว และยังปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๒/๒๕๐๗ ซึ่งวินิจฉัยว่า ต้องมีการแบ่งที่ดินที่เป็นสินสมรสอันจะตกเป็นของวัดให้ภริยาก่อน โดยการแบ่งเช่นนี้ไม่ขัดต่อความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แต่อย่างใด ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายที่แท้จริงของกฎหมายและสอดคล้องกับพระธรรมวินัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเพื่อความมั่นคงสถาพรแห่งพระพุทธศาสนาสืบไปนั่นเอง en
dc.description.abstractalternative It was enacted in the early Thai Family Law that spouses must separate themselves when the husband ordained in Buddhist religion. However, according to the present Civil and Commercial Code article 1501, ordination is not considered as the ending of spouses’ relationship, he still holds husband status and all legal rights. He also has to manage their marital properties occasionally through juristic acts which might receive the payment and it is against Buddhist disciplines. However, the judgment of the Supreme Court no.3773/2538 recognised the monks’ right to execute juristic acts and receive the payment by giving reasons that “Juristic act was bound due to the fact that it was not contrary to public order or good moral”. Obviously, the judgment were contradicted to the Buddhist disciplines.To define the meaning of ‘the property the monk got during his priesthood’, according to article 1623, it relates to all kinds of properties that he acquired in every way whether that property will be in the temple area or not. The precedent of the Supreme Court confirmed that the land belongs to temple will be turned into the monastery estate immediately since the monk passes away. According to the Buddhist Monk Act, B.E. 2505, the monastery estate is not under the case enforcement. Moreover, the Department of Lands has set the rule that the land which the husband got during his priesthood, in every case, is not considered as the marital properties. And all the land will be turned into the ownership of the temple when he passes away in which the wife cannot share any part of it. However, the Family Law has not been enacted that the ordination does end the marital status. The property that the husband obtains while he is a commoner is considered as the marital property which the wife can request the share. Furthermore, if the monk had been in debt related to that property before he passed away, and if that property is the land, it will cause trouble to pay off the debt to the creditor. The ownership transfer of monastery estate can only be done by the Act legislation. If the land is transferred to the creditor by the contract, such transfer of the ownership of is voided because it is against the Buddhist Monk Act, B.E. 2505. Finally, the legal opinion of the Council of State bill drafting committee on article 1623, chapter VI, succession, of the Civil and Commercial Code, is that this article do not intend to include ‘monastery estate’ in ‘property of the monastery’. Moreover, the judgment of the Supreme Court no.439/2479, on article 1623 considers the ‘property of the monastery’ as the property that after paying all debts to the creditor of the monk who passes away. Besides the judgment of the Supreme Court no. 952/2507 declared that the marital property must be divided and given to the wife before transferring the property to the temple, and this division must not go against the real purpose of Buddhist Monk Act, B.E. 2505. All in all, the writer would like to recommend the interpretation of the law that complies with the real intention of law, in order to give justice to everyone who involves in the case. en
dc.format.extent 2011428 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.138
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- การสมรส en
dc.subject มรดก en
dc.subject ธรณีสงฆ์ en
dc.subject การถือครองที่ดิน en
dc.subject พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 en
dc.subject ทรัพย์สิน en
dc.subject ศาสนสมบัติ en
dc.subject สงฆ์ en
dc.title การทำนิติกรรมและมรดกของพระภิกษุที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส en
dc.title.alternative Marital property juristic acts and succession related to Buddhist monk en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.138


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record