DSpace Repository

การออกแบบสารด้วยแสงในการสร้างสรรค์การแสดงโขนร่วมสมัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
dc.contributor.author ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-05-19T05:20:38Z
dc.date.available 2012-05-19T05:20:38Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19670
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ศึกษาแนวคิดในเรื่องแสงในศิลปะการแสดงของไทย และพัฒนาการของการออกแบบสารด้วยแสงในการสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงการศึกษาแนวคิดและเทคนิควิธีในการออกแบบสารด้วยแสงในการแสดงโขนร่วมสมัย ตลอดจนให้เห็นการใช้แสงในการสื่อความหมายและสุนทรียภาพของการแสดง ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร รวมถึงการวิเคราะห์การแสดงโขนร่วมสมัยจำนวน 10 ชุด นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการละคร รวมทั้งผู้สร้างงานและนักออกแบบแสงเกี่ยวกับการออกแบบสารด้วยแสงในการแสดงโขนร่วมสมัย จำนวน 15 คน และใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อการแสดงโขนร่วมสมัย จำนวน 86 คน ผลการวิจัยพบว่า การใช้แสงในการแสดงของไทยแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ยุคการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องการใช้แสงในการแสดงมากนัก เหตุเพราะนิยมแสดงในที่โล่งแจ้ง จึงได้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ส่วนการแสดงที่มีในตอนกลางคืนก็จะอาศัยแสงสว่างจากกองเพลิงที่เผาไหม้ตามธรรมชาติ ยุคการพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้า ส่งผลให้อุปกรณ์การส่องสว่างได้รับการพัฒนาที่มากขึ้น ทำให้เกิดวามสะดวกในการใช้งานตลอดจนการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการแสดง ยุครับวัฒนธรรมการแสดงจากต่างประเทศ อิทธิพลจากการแสดงละครของตะวันตก ทำให้เกิดการให้ความสำคัญเรื่องความสมจริง และการสร้างมิติในการแสดง ยุคอิทธิพลของการศึกษาการละครสมัยใหม่ ความรู้ต่างๆ ทั่วโลกเชื่อมเข้าถึงกันประกอบกับเทคโนโลยีที่มีมากมาย ทำให้มีการเปิดกว้างสำหรับการใช้แสงในการสร้างสรรค์การแสดง ผู้สร้างสรรค์การแสดงสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการและความเหมาะสมของการแสดงนั้นๆ สำหรับการใช้แสงในการแสดงโขนร่วมสมัยนั้นพบว่า มีแนวคิดในการทำงานตามความต้องการนำเสนอของผู้สร้างสรรค์การแสดง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและตอบสนองรสนิยมของกลุ่มผู้ชมที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังพบว่าการใช้แสงมีสัมพันธลักษณ์กับการแสดงในฐานะที่เป็นอวัจนสาร และมีบทบาทที่เป็นพลวัตในการสื่อสารครั้งหนึ่งๆ คือ บางขณะในแต่ละช่วงของการแสดงแสงมีบทบาทเป็นหลักในการสื่อสาร บางขณะเป็นเพียงส่วนประกอบเสริมและบางขณะเป็นส่วนขัดแย้ง ซึ่งแนวโน้มของการใช้แสงเพื่อสื่อความหมายในการแสดงโขนร่วมสมัย ทั้งจากผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมต่างเห็นว่ามีความสำคัญ และจะมีการพัฒนาให้สื่อความหมายทางการแสดงได้มากขึ้น en
dc.description.abstractalternative To investigate the concept of lighting in Thai performance, the development of lighting as message design to create works, and also the concept and the techniques of lighting as message design for contemporary Khon production including the indication of lighting usage to communicate the aesthetic of performance. The researcher studied from the documentary research and 10 Khon performance video tapes (textual analysis), interviewed 15 persons who worked in this field (the expert, the creator, and the lighting designer), and surveyed the audience’s attitude by using questionnaire from 86 respondents. The results revealed that lighting usage in Thai performance were divided into 4 periods. First, using natural resources period, Thai performance did not emphasize on lighting because mostly the performance was set up outside and relying on the light by day and on the fire by night. Second, technology development period, the light instruments are developed to use more comfortably, to save time and expenditure. Third, foreign cultural performance period, the influence of western performance convey Thai performance to emphasize on reality and dimension. Fourth, modern theatre studied period, with the high technology and worldwide network, the lighting designers can choose its benefit to suit their performance. The lighting usage in contemporary Khon production is depended on the creator’s conception and presentation to be consistent with social context and respond to the audience’s taste. Moreover, lighting is related to the performance in a sense of non-verbal and dynamic role. Sometimes lighting is a complementary and sometimes it plays a major role in communication. Both creators and the audiences agree that the trend of lighting usage in contemporary Khon production to communicate, is very important to develop the performance more understandable. en
dc.format.extent 4067769 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.563
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject โขน en
dc.subject ศิลปะการแสดง en
dc.subject การจัดแสงเวที en
dc.subject Khon ‪(Dance drama)‬
dc.subject Performing arts
dc.subject Stage lighting
dc.title การออกแบบสารด้วยแสงในการสร้างสรรค์การแสดงโขนร่วมสมัย en
dc.title.alternative Lighting as message design for contemporary Khon production en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สื่อสารการแสดง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Thiranan.A@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.563


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record