DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความคิดฆ่าตัวตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพักตร์ อุทิศ
dc.contributor.author ปริยศ กิตติธีระศักดิ์, 2519-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2006-08-19T07:38:40Z
dc.date.available 2006-08-19T07:38:40Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741763026
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1991
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดฆ่าตัวตายในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ภาวะเศรษฐกิจ ระยะเวลาที่ทราบผลการตรวจเลือด พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด การมีโรคหรืออาการทางจิต ระยะอาการของโรค การสนับสนุนทางสังคม ตราบาปจากสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว การเผชิญกับปัญหา ประวัติการทำร้ายตนเองของสมาชิกในครอบครัว กับความคิดฆ่าตัวตายในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเฉพาะทาง จำนวน 230 คน ได้จากการสุ่มแบบคนเว้นคนและการสุ่มแบบบังเอิญ ตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม 2) แบบวัดการรับรู้ที่เป็นตราบาป 3) แบบประเมินสัมพันธภาพภายในครอบครัว 4) แบบสอบถามวิธีการเผชิญกับปัญหา และ 5) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .88, .95, .95, .91, .83 และ .85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าพิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติทดสอบค่าที สถิติทดสอบวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติ Eta และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 63.5) มีอายุเฉลี่ย 35.36 ปี มีระยะเวลาเฉลี่ยที่ทราบผลการตรวจเลือด 55.77 เดือน มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.13) ได้รับตราบาปจากสังคมอยู่ในระดับสูง ([Mean] = 2.72) มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับดี ([Mean] = 3.86) มีคะแนนเฉลี่ยการเผชิญกับปัญหาด้วยวิธีมุ่งจัดการกับปัญหาและมุ่งจัดการอารมณ์ คือ 51.46 และ 64.89 ตามลำดับ มีคะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายพบค่าเท่ากับ 7.11 (S.D. = 6.14) โดยพบว่าส่วนใหญ่มีความคิดฆ่าตัวตายในระดับต่ำ (ร้อยละ 57.5) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 23.9) และมีความคิดฆ่าตัวตายในระดับสูง จำนวนน้อยที่สุด (ร้อยละ 18.6) 2. อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาที่ทราบผลการตรวจเลือด การใช้สารเสพติด และการมีโรคหรืออาการทางจิต พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เพศ และ ประวัติการทำร้ายตนเองของสมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความคิดฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.19 และ 2.58, Eta[superscript 2] = .14 และ .17) สำหรับภาวะเศรษฐกิจ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ และระยะอาการของโรคพบว่ามีความสัมพันธ์กับความคิดฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นกัน (F = 4.95, 8.26 และ 4.59, Eta[superscript 2] = .25, .26 และ .20 ตามลำดับ) ส่วนการสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพภายในครอบครัว และการเผชิญกับปัญหาด้วยวิธีการมุ่งจัดการที่ปัญหา พบว่ามีความสัมพันธ์ทางลบกับความคิดฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.18, -.30 และ -.16 ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่าตราบาปจากสังคมและการเผชิญกับปัญหาด้วยวิธีการมุ่งจัดการที่อารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความคิดฆ่าตัวตายในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .27 และ .21 ตามลำดับ) en
dc.description.abstractalternative The purposes of this descriptive research were to study: 1) suicidal ideation of persons with HIV/AIDS, 2) the relationships between selected factors including sex, age, education, marital status, economic status, period blood examination known, sexual orientation, substance abuse, mental illness, stage of disease, social support, stigma, family relationships, coping responses, history of family suicidal behavior and suicidal ideation of persons with HIV/AIDS. The sample was 230 HIV/AIDS patients selected by every second patient and accidental sampling method from special HIV/AIDS hospital. The research instruments were questionnaires namely social support, stigma, family relationships, coping responses and suicidal ideation. All questionnaires were tested for content validity and reliability. The Cronbach's alpha coefficient reliability were .88, .95, .95, .91, .83 and .85, respectively. Statistic technique utilized in data analysis were Frequency, Percentage, Standard deviation, Mean, Median, Mode, Unpaired t-test One-way Analysis of Variance (ANOVA), Eta and Pearson's product moment correlation. Major results of this study were as follows: 1. HIV/AIDS patients were mostly male (63.5%) with mean age of 35.36 years old. The mean of blood examination known was 55.77 months. They had score on social support in the moderate level ([Mean] = 2.13), stigma in the high level ([Mean] = 2.72), family relationships in the good level ([Mean] = 3.86). In addition the mean scores of problem-focused coping and emotion-focused coping were 51.46 and 64.89, respectively. The mean score on suicidal ideation was 7.11 (S.D. = 6.14). HIV/AIDS patients had suicidal ideation in low level, moderate level, and high level at 57.5%, 23.9% and 8.6%, respectively. 2. Age, education, marital status, blood examination known, substance abuse and mental illness were not significant related to suicidal ideation in person with HIV/AIDS. 3. Sex and family suicidal behavior were significant related to suicidal ideation (p = .05, t = -2.19 and -2.58, Eta[superscript 2] = .14 and .17). Economic, sexual orientation and stage of disease were significant related to suicidal ideation too. (p = .05, F = 4.95, 8.26 and 4.59, Eta[superscript 2] = .25, .26 and .20 respectively). In addition, social support, family relationships, and problem-focused coping were negaive significantly related to suicidal (p = .05, r = -.18, -.30 and -.16, respectively). Stigma, emotion-focused coping were positive significantly related to suicidal ideation in person with HIV/AIDS (p = .05, r = .27 and .21, respectively). en
dc.format.extent 53024964 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การฆ่าตัวตาย--ไทย en
dc.subject โรคเอดส์--ผู้ป่วย--ไทย en
dc.subject ผู้ติดเชื้อเอชไอวี--ไทย en
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความคิดฆ่าตัวตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ en
dc.title.alternative Relationships between selected factors and suicidal ideation of persons with HIV/AIDS en
dc.type Thesis en
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Penpaktr.U@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record