dc.contributor.advisor |
ชัยวัฒน์ มณีนุษย์ |
|
dc.contributor.author |
ยุทธนา คูวุฒยากร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-06-06T08:14:49Z |
|
dc.date.available |
2012-06-06T08:14:49Z |
|
dc.date.issued |
2551 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20057 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
en |
dc.description.abstract |
ประเมินความทนทานของการยึดติดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ที่มีต่อเคลือบฟันและเนื้อฟัน โดยนำฟันกรามมนุษย์ซี่ที่สามมากรอตัดด้วยหัวกรอกากเพชรความเร็วสูง ให้ได้ผิวฟันที่เรียบ 2 กลุ่มคือ เคลือบฟันและเนื้อฟัน ใช้ชิ้นเรซินคอมโพสิตมายึดติดกับผิวฟันที่กรอเตรียมไว้ด้วยเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รีไลเอกซ์ยู 100 แมคเซม มัลติลิงค์สปริน และเซลฟ์เอทช์เรซินซีเมนต์ 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พานาเวียเอฟ 2.0 เก็บชิ้นงานไว้ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง แต่ละชิ้นงานถูกตัดให้เป็นชิ้นทดสอบลักษณะนาฬิกาทราย 3 ชิ้นแล้วแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย สำหรับทดสอบกำลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคทันที ทดสอบภายหลังเก็บไว้ในน้ำกลั่น 1 สัปดาห์และทดสอบภายหลังเก็บไว้ในน้ำกลั่น 1 เดือน ที่ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที คำนวณค่ากำลังแรงยึดเฉลี่ยและเปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยแบบพหูคูณ และการทดสอบค่าทีหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์จะมีการเปลี่ยนแปลงของค่ากำลังแรงยึดที่แตกต่างกัน โดยรีไลเอกซ์ยู 100 จะให้กำลังแรงยึดที่คงที่เมื่อแช่อยู่ในน้ำตลอดระยะเวลาที่ทดสอบ แต่แมคเซมและมัลติลิงค์สปรินจะให้ค่ากำลังแรงยึดที่ลดลง เมื่อแช่อยู่ในน้ำตลอดระยะเวลาทดสอบ ส่วนพานาเวียเอฟ 2.0 ให้ค่ากำลังแรงยึดทั้งกับเคลือบฟันและเนื้อฟันสูงสุด และมีความคงตัวของกำลังแรงยึดเมื่อแช่อยู่ในน้ำตลอดระยะเวลาทดสอบ สรุปว่า ความทนทานในการยึดติดของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์นั้นจะขึ้นอยู่กับวัสดุ และเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์มีประสิทธิภาพการยึดติดด้อยกว่าเซลฟ์เอทช์เรซินซีเมนต์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
To evaluate bond durability of self adhesive resin luting cements to enamel and dentin. Enamel and dentin surface of human third molars were flattened using a high-speed diamond bur. Resin composite blocks (Filtex Z350) were bonded to those surface using three self adhesive resin cements (Rely X U100, Maxcem and Multilink Sprint) and a self-etch resin cement (Panavia F 2.0). After storage in water for 24 hours at 37 degrees celsius the bonded specimens were serially sectioned into three hourglass shape tested specimens for subjected to µTBS immediately, after water storage for 1 week and after water storage for 1 month at crosshead speed 1 mm/minute. Data was analyzed by three-way ANOVA, multiple comparison and independent sample t-test (α=0.05). Results were: when bonded to enamel and dentin, changing in bond strengths of self adhesive resin cements were not uniform over time. Over the test period, Rely X U100 exhibited bond stability, but a significant decrease in bond strengths was observed for Maxcem and Multilink Sprint after water storage, Panavia F 2.0 showed the highest bond strength value and exhibited bond stability. In conclusion, the bonding durability of self adhesive resin cements is material-dependent, and the bond effectiveness of self adhesive resin cements is lower than that of self-etch resin cement |
en |
dc.format.extent |
9495193 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1288 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
เรซินทางทันตกรรม |
en |
dc.subject |
สารยึดติดทางทันตกรรม |
en |
dc.title |
กำลังแรงยึดแบบดึงระดับจุลภาคของเซลฟ์แแอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ต่อเคลือบฟันและเนื้อฟัน |
en |
dc.title.alternative |
Microtensile bond strength of self adhesive resin luting cement to enamel and dentin |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมหัตถการ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Chaiwat.M@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2008.1288 |
|