dc.contributor.advisor |
บุญยง ชื่นสุวิมล |
|
dc.contributor.author |
วรรณนิภา ชวนชม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-06-13T05:45:31Z |
|
dc.date.available |
2012-06-13T05:45:31Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20300 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en |
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่องความเชื่อเรื่องการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง: ศึกษากรณีสำนักสักยันต์อาจารย์หนู กันภัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) กลุ่มผู้สักยันต์ห้าแถวหนุนดวงจากสำนักสักยันต์อาจารย์หนู กันภัย รวมถึงการค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและพิธีกรรมการสักยันต์ในภาคกลางของประเทศไทยเพื่อประกอบกับการศึกษาเรื่องการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง จากการวิจัยพบว่าความเชื่อและพิธีกรรมการสักยันต์ในภาคกลางของประเทศไทยนั้นมีความเชื่อมโยงถึงด้านความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความแข็งแกร่งของร่างกายและจิตใจไม่เกรงกลัวต่อภัยสงคราม ในส่วนความเชื่อของการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวงนั้นพบว่าเป็นความเชื่อในด้านของความสำเร็จในหน้าที่การงานและการเงิน เสริมดวงชะตา เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพหรือกิจการต่างๆ ซึ่งลักษณะกลุ่มสังคมของผู้สักยันต์ห้าแถวหนุนดวงนั้นเป็นผู้ที่มีลักษณะร่วมกันในด้านของความเชื่อในสิ่งเดียวกันคือความศักดิ์สิทธิ์ของการสักยันต์ ซึ่งเป็นลักษณะกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการประกอบพิธีกรรมร่วมกัน ทั้งนี้จากความเชื่อของกลุ่มผู้สักยันต์ห้าแถวหนุนดวงนั้นทำให้เห็นถึงบทบาทของการสักยันต์ต่อชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน กลับกลายเป็นสิ่งที่สามารถร้องขอต่ออนาคตเพื่อช่วยคลายความวิตกกังวลต่อการดำเนินชีวิต และนอกจากนี้ความเชื่อของการสักยันต์ยังเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างความมั่นใจและเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้สักยันต์ห้าแถวหนุนดวง |
|
dc.description.abstractalternative |
The research on Five Columns Tattoo: A Case Study of Tattoo Group of Ajarn Noo Khanpai is a qualitative research by an observation, an in-depth interview of the Five Columns Tattoo practitioners with Ajarn noo Khanpai as well as a documentary research on the belief and the rituals of Tattoo in the central region of Thailand as a further academic research in conjunction with the practice of Five Columns Tattoo. Throughout the study, the research draws out a conclusion that the belief and the rituals of Tattoo in the central region of Thailand are an affinity between spiritual belief and religious rituals for physical and mental strength for the practitioners to fight against the war. An exemplified practice of Five Columns Tattoo is specifically perceived as financial and professional accomplishment in order to bring occupational stability, business success and good fortune. Those Five Columns Tattoo devotees have an identical characteristic in terms of a common belief in sanctity of the rituals of Tattoo as well as in mutual goal and objective on a collective ritual practice among the Tattoo wearers themselves. The Five Columns Tattoo practice is thus a well-reflected spiritual belief that has a grateful influence on people living in a today’s society which the future force are implored for life assurance and worry eradication. Furthermore, the research also found out that the belief in Five Columns Tattoo is served as self-confidence and spiritual encouragement for the Five Columns Practitioners to confront the obstacles along the path they are heading forward. |
en |
dc.format.extent |
2273315 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.title |
ความเชื่อเรื่องการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง: ศึกษากรณีสำนักสักยันต์อาจารย์หนู กันภัย |
en |
dc.title.alternative |
Belief in five columns tattoo: a case study of tattoo group of Ajarn Noo Khanpai |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
สังคมวิทยา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Boonyong.C@Chula.ac.th |
|