DSpace Repository

การสำรวจการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรภาครัฐส่วนกลาง

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.advisor อานนท์ วรยิ่งยง
dc.contributor.author สกาวรัตน์ เหมือนละม้าย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-19T02:57:37Z
dc.date.available 2012-06-19T02:57:37Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20410
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์กรภาครัฐส่วนกลางในเรื่องของนโยบาย แผนงาน โครงการและกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และความต้องการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เพื่อดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพรวมทั้งปัญหา/อุปสรรคและแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้แบบสอบถามองค์กรภาครัฐส่วนกลาง จำนวน 173 องค์กร โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2550 มีอัตราการตอบกลับ ร้อยละ 71.7 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมสุขภาพองค์กรที่มีการสร้างเสริมสุขภาพสูงสุด จำนวน 4 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า องค์กรภาครัฐส่วนกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ (ร้อยละ 73.4) และมีข้อความนโยบายที่ระบุมานั้นเป็นนโยบายจริงเพียง 1 องค์กร (ร้อยละ 0.8) โครงการ/กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในปีที่ผ่านมาพบว่ามีค่อนข้างมาก (ร้อยละ 84.7) ซึ่งกิจกรรมที่มีการดำเนินงานสูงสุด คือ การออกกำลังกาย ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ การขาดบุคลากรที่รับผิดชอบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยตรง การขาดงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และไม่มีสถานที่ดำเนินกิจกรรมหรือออกกำลังกาย (ร้อยละ 40.3, 34.7 และ 19.7 ตามลำดับ) ส่วนในการแก้ไขปัญหานั้นองค์กรต่างๆ ได้ให้แนวทางแก้ไขปัญหา 3 อันดับแรก ได้แก่ ให้มีการกำหนดเป็นนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กร ให้จัดทำแผนงาน/โครงการ การสร้างเสริมสุขภาพเป็นแผนยุทธศาสตร์ และให้มีการจัดสรรงบประมาณให้องค์กรเพื่อการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยตรง ความต้องการการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ นั้นพบว่า ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มากที่สุด (ร้อยละ 78) รองลงมาได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 65 และ ร้อยละ 30.9) สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนมากที่สุด ได้แก่ องค์ความรู้ สื่อต่างๆ และวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ จากผลการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพควรมีการผลักดันให้เกิดการมีนโยบายด้าน การสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมทั้งมีการสนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้ที่องค์กรอื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างหรือนำข้อมูลด้านการสร้างเสริมสุขภาพไปใช้ในองค์กรของตนเอง สสส. ควรเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ให้องค์กรภาครัฐต่างๆ สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้โดยการเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น ในเว็บไซต์ของ สสส. หรือมีการจัดทำข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลความรู้ต่างๆ หรือข้อมูลบุคคลหรือองค์กรที่มีการดำเนินงานด้านสร้างเสริมสุขภาพดีพร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้โดยตรง en
dc.description.abstractalternative This survey study aims to explore policies, projects, current activities, problems and problem solvings, and supports needed for health promotion in central government organizations. The data was collected during June and December 2007 by sending questionnaires to all of central government organizations (173 units). The response rate was 71.7 percent. The data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. A quality research was in-depth interview personnel responsible for health promotion in organizations (4 units). The study found that the majority of central government organizations did not have health promotion policy (73.4%). Only one organization had true policy (0.8%). In the past year, most central government organizations had health promotion projects and activities (84.7%) and most of them were exercise. The most frequent problems were lack of personnel directly responsible for health promotion (40.3%), lack of budget (34.7%) and not having enough places for activities (19.7%), respectively. The problem solvings were setting policy in health promotion, setting strategic plans for health promotion, and allocating budget for health promotion. The central government organizations needed supports from Thai Health Promotion Foundation, National Health Security Office, and the Ministry of Public Health in terms of knowledge, medias and materials. The author recommends that concerned bodies establish health promotion policy in government organizations, and successful organizations support knowledge and information to others. This may be done materially or digitally, and Thai Health Promotion Foundation may play a key role. en
dc.format.extent 1536521 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.679
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ en
dc.title การสำรวจการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรภาครัฐส่วนกลาง en
dc.title.alternative A survey of health promotion in central government organizations en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline อาชีวเวชศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Pornchai.Si@Chula.ac.th
dc.email.advisor Arnond.V@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.679


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record