Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ บทบาทางเพศ และลักษณะปัจเจกนิยม (HI) – ลักษณะคติรวมหมู่ (HC) ที่มีต่อการเสียใจภายหลังและการใช้เป้าหมายการควบคุม โดยศึกษาในบริบทต่างๆ 4 บริบท ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบคู่รัก ความสัมพันธ์แบบเพื่อน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 384 คน ถูกสุ่มให้อ่านเรื่องสั้นคนละ 1 แบบจากจำนวนทั้งหมด 16 แบบ พร้อมทั้งจินตนาการเกี่ยวกับการเสียใจภายหลังและตอบคำถาม และทำมาตรวัดการใช้เป้าหมายการควบคุม ผลการวิจัยพบว่า 1.HI มีการเสียใจภายหลังไม่แตกต่างจาก HC แต่ HI มีการเสียใจจากการไม่กระทำมากกว่าเสียใจจากการกระทำในบริบทของความสัมพันธ์แบบคู่รัก ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความสัมพันธ์กับเพื่อน (p < .05) นอกจากนี้ HC ยังมีการใช้เป้าหมายควบคุมแบบป้องกันมากกว่า HI (p <.001) 2.ในด้านความสัมพันธ์แบบคู่รัก ผู้ชายเสียใจภายหลังจากการกระทำมากกว่าไม่กระทำ (p < .001) ในขณะที่ผู้หญิงเสียใจภายหลังไม่แตกต่างกัน 3.ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเสียใจภายหลังจากการไม่กระทำมากกว่ากระทำในบริบทของการศึกษา และความสัมพันธ์กับเพื่อน ส่วนในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีการเสียใจภายหลังทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกัน 4.ในด้านความสัมพันธ์แบบคู่รัก HM เสียใจภายหลังจากการกระทำมากกว่าไม่กระทำ (p <. 01) ในขณะที่ HFเสียใจจากการกระทำและไม่กระทำไม่แตกต่างกัน 5.ในด้านความสัมพันธ์แบบคู่รัก ผู้ชายใช้เป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริมมากกว่าป้องกัน (p <.001) ในขณะที่ผู้หญิงใช้เป้าหมายการควบคุมไม่แตกต่างกัน 6.ผู้หญิงใช้เป้าหมายการควบคุมแบบป้องกันในด้านการศึกษา และใช้เป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริมในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากกว่าผู้ชาย (p <.05 และ p <.001 ตามลำดับ) 7.ในด้านความสัมพันธ์แบบคู่รัก HM ใช้เป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริมมากกว่าป้องกัน (p <.001)ในขณะที่ HF ใช้เป้าหมายการควบคุมไม่แตกต่างกัน และใช้เป้าหมายการควบคุมแบบป้องกันมากกว่า HM (p <.001) 8.HF ใช้เป้าหมายการควบคุมแบบป้องกันในด้านการศึกษา และความสัมพันธ์กับเพื่อน รวมทั้งใช้เป้าหมายการควบคุมทั้ง 2 ชนิด ในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากกว่า HM (p <.05, p<.01, p <.01, p <.05 ตามลำดับ)