DSpace Repository

แนวทางการปรับปรุงการให้สินเชื่อแก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยของสถาบันการเงินภาครัฐในประเทศไทย : ศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายและวิธีปฏิบัติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.advisor ชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี
dc.contributor.author ชลีรัตน์ มเหสักขกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-07-13T13:56:40Z
dc.date.available 2012-07-13T13:56:40Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20792
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract ปัจจุบันนโยบายภาครัฐในเรื่องการให้สินเชื่อแก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยถือเป็นนโยบายหลักในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการเงินไปลงทุนในธุรกิจ อีกทั้งสถาบันการเงินภาครัฐทั้ง 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ตอบสนองแนวนโยบายการให้สินเชื่อดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้เข้าถึงธุรกรรมทางด้านการเงิน และลดการเกิดปัญหาหนี้นอกระบบ จากการศึกษาถึงการดำเนินงานในด้านการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินภาครัฐดังกล่าวพบว่ายังไม่มีมาตรการทางด้านกฎหมายในการให้สินเชื่อแก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยอย่างชัดเจน เนื่องจากการพิจารณาให้สินเชื่อของเจ้าหน้าที่ได้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งในทางกฎหมายไม่ถือว่าประกาศของธนาคารเป็นกฎหมาย ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้สินเชื่อแก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยขึ้นมา เพื่อให้สถาบันการเงินได้มีการดำเนินงานด้านการให้สินเชื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งปรับปรุงวิธีการปฏิบัติให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคได้รับความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ en
dc.description.abstractalternative Currently, the Thai’s government policy on microfinance for people with low income and small - scale entrepreneurs is considered as the main policy to provide these people with an access to capital needed for their business investment. In this connection, the four government’s specialized financial institutions (SFIs), namely, The Government Savings Bank, The Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives, The Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand, and The Islamic Bank of Thailand have responded to this policy in order to give these people access to financial services, and to alleviate informal debts problems. A study on these SFIs’ microfinance service operations shows that there is no clerical legal measure on microfinance for low income people and small - scale entrepreneurs yet. This is because bank officials’ credit consideration would comply with each bank’s regulations, which legally speaking are not considered a law. Therefore, it is proposed that specific legal measures on this matter be enacted, so as to regulate and standardize the SFIs microfinance service operations and also improve related procedures to be more flexible. Thus, fairness and equality in financial services for all the people and consumers would be achieved. en
dc.format.extent 4445459 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.528
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สถาบันการเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.subject สินเชื่อ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.title แนวทางการปรับปรุงการให้สินเชื่อแก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยของสถาบันการเงินภาครัฐในประเทศไทย : ศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายและวิธีปฏิบัติ en
dc.title.alternative Improving Thai public specialized financial institutions' microfinance programes : an analysis of legal measures and implementing procedures en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sakda.T@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.528


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record