Abstract:
ศึกษาผลของการถูกกีดกันทางสังคมและความอ่อนไหว ต่อการถูกปฏิเสธต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวโดยตรงและพฤติกรรมก้าวร้าวแทนที่ ผู้ร่วมการทดลองซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 160 คน ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วว่ามีความอ่อนไหวต่อการถูกปฏิเสธสูงหรือต่ำ ได้รับการสุ่มเข้าสู่เงื่อนไขไม่ถูกกีดกันทางสังคมและถูกกีดกันทางสังคม โดยการรับหรือไม่รับเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมของผู้ช่วยวิจัย จากนั้นวัดพฤติกรรมก้าวร้าวโดยให้ผู้ร่วมการทดลองเลือกประเภทของเสียงที่จะนำไปทดสอบผู้ช่วยวิจัย การศึกษาที่ 1 วัดพฤติกรรมก้าวร้าวโดยตรง พบว่าเมื่อถูกกีดกันทางสังคม ผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อการถูกปฏิเสธสูงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยตรงมากกว่า ผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อการถูกปฏิเสธต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) แต่ไม่แตกต่างกันเมื่อไม่ถูกกีดกันทางสังคม ในการศึกษาที่ 2 วัดพฤติกรรมก้าวร้าวแทนที่ พบว่าเมื่อถูกกีดกันทางสังคมผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อการถูกปฏิเสธสูง แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแทนที่มากกว่าผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อการ ถูกปฏิเสธต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ไม่แตกต่างกันเมื่อไม่ถูกกีดกันทางสังคม