DSpace Repository

การศึกษานิเวศน์วิทยาเปรียบเทียบของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ระหว่างป่าชายเลนปลูก และป่าชายเลนธรรมชาติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุษณีย์ ยศยิ่งยวด
dc.contributor.author เพ็ญประภา เพชระบูรณิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2012-08-17T08:01:46Z
dc.date.available 2012-08-17T08:01:46Z
dc.date.issued 2529
dc.identifier.isbn 9745667595
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21492
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 en
dc.description.abstract การศึกษานิเวศน์วิทยาเปรียบเทียบสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ระหว่างป่าชายเลนปลูก (อายุ 1, 3 และ 7 ปี) และป่าชายเลนธรรมชาติโดยเน้นที่ความหนาแน่นและมวลชีวภาพกระทำขึ้นบนพื้นที่ป่าชายเลนในส่วนป่าปากพนัง ฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการศึกษาชนิดของพรรณไม้ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมร่วมไปด้วย เมื่อคำนวณค่าความหนาแน่นและมวลชีวภาพโดยเฉลี่ย Index of Similarity Index of Dominance และ Index of Species Diversity (Shannon-Wiener) ของสัตว์เหล่านี้ผลแสดงให้เห็นว่ากลุ่มสัตว์ที่พบมากในป่าชายเลนที่ศึกษาได้แก่ Polychaetes Molluscs และ Crustaceans ปลา กบ สัตว์เลื้อยคลาน ลิ่นทะเล และแมลงต่าง ๆ พบมีอยู่บ้างกลุ่มสัตว์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในป่าชายเลนธรรมชาติคือ Polychaetes ในขณะที่ป่าชายเลนปลูกอายุ 1 ปี จะมีความหนาแน่นของ Polychaetes และ Crustaceans สูง ส่วนในป่าชายเลนปลูกอายุ 3 ปี จะมีความหนาแน่นของ Molluscs สูงที่สุด Crustaceans มีความหนาแน่นสูงที่สุดในป่าชายเลนปลูกอายุ 7 ปี และมีมวลชีวภาพสูงสุดในป่าชายเลนทุกแปลงที่ศึกษา
dc.description.abstractalternative Comparative ecological study of macrofauna between mangrove plantations (age 1, 3 and 7 years) and natural mangrove forest with emphasis on density and biomass was carried out at Pakpanung mangrove forest, Amphoe Pakpanung, Changwat Nakhorn Si Thammarat. The kinds of plants and environmental changes were also investigated. The mean density value and biomass, Index of Similarity, Index of Dominance and Index of species Diversity (Shannon-wiener Index) were calculated. Results show that the mangrove macrofauna was dominated by Polychaetes, Molluscs. and Crustaceans. Fishes, frogs, reptiles, nudibranch and insects were also recorded as associative species. Maximum density value of Polychaetes was found in the natural mangrove forest while the density of Polychates and Crustaceans were high in one year old mangrove plantation, Mollusc density was highest in 3 years old mangrove plantation. Crustaceans had the highest density value in 7 years old mangrove plantation and also had the highest biomass in every study area.
dc.format.extent 514134 bytes
dc.format.extent 481207 bytes
dc.format.extent 476568 bytes
dc.format.extent 703224 bytes
dc.format.extent 1226001 bytes
dc.format.extent 978690 bytes
dc.format.extent 410002 bytes
dc.format.extent 588744 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ป่าชายเลน
dc.subject นิเวศวิทยาป่าชายเลน
dc.subject สัตว์หน้าดิน -- นิเวศวิทยา
dc.subject สวนป่าปากพนัง (นครศรีธรรมราช)
dc.subject นครศรีธรรมราช -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
dc.title การศึกษานิเวศน์วิทยาเปรียบเทียบของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ระหว่างป่าชายเลนปลูก และป่าชายเลนธรรมชาติ en
dc.title.alternative Comparative ecological study of macrofauna between mangrove plantation and natural mangrove forest en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ชีววิทยา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record