Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเปรียบเทียบทางสังคมและรายได้ต่อความสุขเชิงอัตวิสัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีรายได้ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลที่ประกอบอาชีพข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ พนักงานบริษัทและ พนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้คะแนนจากมาตรวัดการเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่าที่ระดับคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 73 จำนวน 218 คน และกลุ่มที่ได้คะแนนจากมาตรวัดการเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าในระดับมากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 73 จำนวน 218 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.บุคคลที่มีการเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่ามีความสุขเชิงอัตวิสัยมากกว่าบุคคลที่มีการเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 2.บุคคลที่มีรายได้สูงมีความสุขเชิงอัตวิสัยมากกว่าบุคคลที่มีรายได้ต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 3.บุคคลที่มีรายได้สูงและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่ามีความสุขเชิงอัตวิสัยไม่แตกต่างกับบุคคลที่มีรายได้ต่ำและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 4. บุคคลที่มีรายได้สูงและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่ามีความสุขเชิงอัตวิสัยมากกว่าบุคคลที่มีรายได้สูงและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า, บุคคลที่มีรายได้ต่ำและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า และมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. บุคคลที่มีรายได้ต่ำและมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่ามีความสุขเชิงอัตวิสัยมากกว่าบุคคลที่มีรายได้ต่ำ และบุคคลที่มีรายได้สูง และมีการเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05