Abstract:
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาผลของชนิดและความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว และเกลือแกงที่มีต่อประสิทธิภาพการแยกสารเทอเชียรีบิวทิลฟีนอล (TBP) โดยใช้กระบวนการทำให้เป็นฟองลอย สารลดแรงตึงผิวสองชนิดที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (CPC) และโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (SDS) คอลัมน์ทำให้เป็นฟองลอยทำด้วยพลาสติกใส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.4 เซนติเมตร และสูง 100 เซนติเมตร ทำการควบคุมระบบทำให้เป็นฟองลอยแบบกะ จากผลการทดลองการแยกสาร TBP มีค่าสูงสุดที่ความเข้มข้นสารลดแรงตึงผิวเท่ากับความเข้มข้นวิกฤตในการเกิดไมเซลล์ (CMC) การเติมเกลือแกงทำให้ค่า CMC ของสารลดแรงตึงผิวทั้งสองลดต่ำลง การเติมเกลือแกงลงในน้ำทดลองทำให้ประสิทธิภาพของสาร CPC ลดต่ำลงในการแยกสาร TBP ในขณะที่เกลือแกงที่เติมลงไปไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของสาร SDS ในการแยกสาร TBP ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวทั้งสองชนิด พบว่าสาร CPC สามารถแยกสาร TBP ได้ดีกว่าการใช้สาร SDS ภายใต้สภาวะไม่มีเกลือแกง