DSpace Repository

ปัจจัยความสำเร็จของการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกในองค์กรธุรกิจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรนุช สูงสว่าง
dc.contributor.author ทศพนธ์ นรทัศน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2012-09-06T09:25:10Z
dc.date.available 2012-09-06T09:25:10Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22018
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract องค์กรธุรกิจ ทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยเริ่มนำซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อก มาใช้งานทดแทนซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานที่มีลิขสิทธิ์ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ทำให้เกิดคำถามว่าองค์กรธุรกิจจะเปลี่ยนซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานที่มีลิขสิทธิ์มาเป็นซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร การศึกษานี้ มุ่งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานมาเป็นซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกขององค์กรธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน จากกลุ่มตัวอย่างขนาด 497 คน จาก 5 องค์กรธุรกิจ โดยเป็นองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกมาไม่น้อยกว่า 2 ปี พบว่าปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความคาดหวังด้านความสามารถของซอฟต์แวร์ ความพยายามที่ผู้ใช้คาดว่าจะต้องทุ่มเทลงไปในการใช้งานซอฟต์แวร์ อิทธิพลทางสังคม โดยมีความสมัครใจในการใช้งานมีอิทธิพลแฝงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น มีผลต่อความตั้งใจในการใช้งานซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อก ผลการวิจัยปรากฏว่าความตั้งใจในการใช้งานและปัจจัยเงื่อนไขการอำนวยความสะดวก มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกขององค์กรธุรกิจโดยวัดจากมิติความพึงพอใจในการใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05 ผลการศึกษาดังกล่าว นำไปสู่ข้อเสนอแนะตัวแบบในการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกในองค์กรธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และข้อเสนอแนะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อก en
dc.description.abstractalternative Business organizations both private sector and state enterprises in Thailand have been migrating from licensed office suite software, to OpenOffice.org (OOo). However this practice is still not very widespread. This study examines the problem of how businesses can successfully migrate to OOo. The objective of this study is to determine the success factors of migration to OpenOffice.org (OOo) in business organizations. Data were collected from a sample of 497 people in 5 organizations that had been using OOo for not less than two years. Multiple regression and correlation analysis were used to analyze the data. The results showed that factors: Performance Expectancy, Effort Expectancy, Social Influence are significant determinants of Behavioral Intention, and that Voluntariness of Use mediates the relation between Social Influence and Behavioral Intention. Behavioral Intention and Facilitating Conditions are predictors of OOo migration success as they represent the dimensions of satisfaction with the software. All of the relationships between the factors were significant at the p < 0.05 level. The results of this study will help organizations improve the likelihood of Ooo migration success and develop OOo to meet their users’ needs. en
dc.format.extent 3293355 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.542
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ en
dc.subject โอเพนออฟฟิศดอทโออาร์จี (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) en
dc.subject ธุรกิจ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ en
dc.title ปัจจัยความสำเร็จของการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนออฟฟิศดอทอ็อกในองค์กรธุรกิจ en
dc.title.alternative Success factors of migration to openoffice.org in business organizations en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Oranuj.So@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.542


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record