dc.contributor.author |
วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล |
|
dc.contributor.author |
วิจิตรา จงวิศาล |
|
dc.contributor.author |
ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล |
|
dc.contributor.author |
วรัญ แต้ไพสิฐพงษ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
|
dc.date.accessioned |
2006-08-26T06:50:44Z |
|
dc.date.available |
2006-08-26T06:50:44Z |
|
dc.date.issued |
2539 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2225 |
|
dc.description |
ทฤษฎี -- การทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดของฝุ่นผงที่สามารถระเบิดได้ -- การประดิษฐ์เครื่องทดสอบความสามารถในการระเบิดได้ของอนุภาค -- แนวทางป้องกันอุบัติเหตุการระเบิดของวัสดุฝุ่นผงในอุตสาหกรรม |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์หลักของโครงการสิ่งประดิษฐ์นี้คือ การพัฒนาปรับปรุงเครื่องต้นแบบชุดที่สองสำหรับทดสอบคุณสมบัติการระเบิดของวัสดุฝุ่นผง ทำการศึกษาวัดค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ระเบิดได้ (Lower Explosion Limit, LEL) ของตัวอย่างฝุ่นผงประเภทต่างๆ ภายในประเทศ และทำการศึกษาอิทธิพลของขนาดอนุภาคเฉลี่ย และปริมาณความชื้นที่มีต่อค่า LEL ตลอดจนเสนอแนวทางป้องกันและแนวทางควบคุมความเสียหายจากการระเบิดของฝุ่นผงในโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างฝุ่นผงส่วนใหญ่จะผ่านการเตรียมตัวอย่างตามขั้นตอนที่ระบุไว้ก่อนทดสอบการระเบิด จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ตัวอย่างฝุ่นผง 4 ชนิด (lycopodium, HDPE, dextrin และ sulfur) ให้ค่า LEL ใกล้เคียงกับค่า LEL ที่มีตีพิมพ์ในต่างประเทศ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เครื่องทดสอบคุณสมบัติการระเบิดชุดที่สองนี้ให้ค่าที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือหลังการปรับแต่งและสอบเทียบด้วยตัวอย่างมาตรฐานผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงค่า LEL จะเพิ่มขึ้นตามขนาดอนุภาคเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของแต่ละส่วนย่อยของผง แต่ยังรับอิทธิพลจากสัดส่วนของอนุภาคละเอียดสุดที่มีอยู่ในแต่ละส่วนย่อยที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเดียวกัน ในด้านของประเภทของแป้งพบว่า ค่า LEL จะเรียงตามลำดับมากน้อยไปมากดังนี้ แป้งข้าวเจ้า < แป้งข้าวสาลี < แป้งข้าวโพด < แป้งมันสำปะหลัง ส่วนฝุ่นผงอื่นๆ ที่ทำการทดสอบมีลำดับของค่า LEL เรียงจากน้อยไปมากดังนี้ ครีมเทียม C < ครีมเทียม K < ผงขี้เลื่อยไม้สัก < น้ำตาลไอซิ่ง อนึ่งเมื่อเปรียบเทียบค่า LEL ของครีมเทียมทั้งสองชนิดนี้ พบว่า ค่า LEL ของครีมเทียม K สูงกว่า ทั้งนี้เรื่องจากมีส่วนประกอบที่ต่างกันคือสัดส่วนของนมผงขาดมันเนย ดังที่คาดไว้ความชื้นที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ความว่องไวต่อการจุดชนวนลดลง นั่นคือให้ค่า LEL สูงขึ้น การทดลองยังพบว่าแป้งมันสำปะหลังชนิดเดียวกันแต่ผลิตโดยบริษัท 2 แห่ง ให้ค่า LEL แตกต่างกัน สาเหตุหลักไม่ใช่เพราะความแตกต่างของส่วนประกอบทางเคมีแต่เป็นเพราะความแตกต่างของอนุภาคละเอียดสุดที่มีอยู่ในส่วนย่อยที่นำมาเปรียบเทียบกัน การทดลองกับผงหมึกที่ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสาร แสดงให้เห็นว่าค่า LEL ของผงหมึกจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้ผ่านขั้นตอนการถ่ายเอกสารแล้ว นอกจากการพัฒนาปรับปรุงเครื่องต้นแบบชุดที่สอง และผลการทดสอบขอบเขตด้านต่ำของการระเบิดของวัสดุฝุ่นผงแล้ว โครงการนี้ยังได้เสนอแนะมาตรการป้องกันการระเบิดของฝุ่นผง และมาตรการควบคุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการระเบิดในโรงงานด้วย |
en |
dc.description.abstractalternative |
The main objectives of the present invention project are to develop and improve the second prototype of the dust explosibility tester, to measure the Lower Explosion Limit (LEL) concentrations of several Thai domestic dusts, and to study the effect of the average particle size and moisture content of dust samples on the LEL values as well as to recommend dust explosion prevention measures and measures for minimizing damages. Before the explosion tests, most dust samples were pretreated as indicated. From the preliminary work, it was found that all the four types of dust samples (lycopodium, HDPE, dextrin and sulfur) show LEL values close to the published ones. Thus it was concluded that the second prototype tester was accurate and reliable after undergoing adjustment and calibration. The experimental results reveal that the LEL concentration not only increased with the nominal average particle size of a dust fraction but also was influenced by the proportion of finest particles existing within each fractionof the same average particle size. With respect to the type of flour, the following sequence of increasing LEL concentrations has been found: rice flour < wheat flour < corn flour < cassava flour. Tests on another series of samples gave the sequence to increasing LEL values as follows: creamer C < creamer K < saw dust < sugar icing. Comparison between creamer K and creamer C reveals that the former had higher LEL concentration than the latter because of the difference in the composition of skimmed milk. As expected, an increase in the moisture content contributed to reduce ignition sensitivity and thus higher LEL values. It was found also that the same type of cassava flour but produced by two different companies gave different LEL values mainly not because of difference in chemical composition but because of different proportions of finest particles in comparable fractions. Tests on the toner used in a copying machine showed that its LEL value increased after the toner had passed through the copying process. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนอุดหนุนโครงการสิ่งประดิษฐ์ |
en |
dc.format.extent |
60262396 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การระเบิดของฝุ่นผง |
en |
dc.subject |
เครื่องทดสอบขอบเขตการระเบิด |
en |
dc.title |
เครื่องทดสอบขอบเขตการระเบิดของฝุ่นผง : รายงาน |
en |
dc.title.alternative |
Dust explosive limit tester |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
vichitra.c@chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ctawat@pioneer.chula.ac.th, Tawatchai.C@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
varun.t@chula.ac.th |
|