DSpace Repository
โครงการการวิจัยประยุกต์ประกอบการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน
Login
DSpace Home
→
Faculty and Institute
→
Faculty of Engineering - Eng
→
Eng - Research Reports
→
View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.
โครงการการวิจัยประยุกต์ประกอบการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน
สุนทร บุญญาธิการ
;
บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
URI:
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2246
Date:
2539
Abstract:
วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแปรและอิทธิพลของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการนำประโยชน์จากระบบธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นรวมถึงแนวทางในการประยุกต์ข้อมูลที่ได้เพื่อนำมาใช้กับการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นอาคารสาธิตการอนุรักษ์พลังงานตัวอย่างของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ในการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่าตัวแปรสำคัญที่จำเป็นต้องทราบมากที่สุดเพื่อจะนำไปใช้ในการออกแบบอาคารดังกล่าวคือ อิทธิพลของ ต้นไม้ ดินน้ำ และแสงธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับภูมิอากาศแถบร้อนชื้น ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาปรับปรุงดัดแปลงและประยุกต์ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานดังกล่าว ขบวนการวิจัยทดลองและวิเคราะห์ได้ทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบและการประเมินค่าการใช้พลังงานในอาคารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SIMULATION)ด้วยเหตุนี้การวิเคราะห์วิจัยในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นหัวใจสำคัญในการแสวงหาข้อมูลที่จะป้อน (INPUT) ให้กับการประเมินค่าการใช้พลังงานโดยวิธีจำลองสภาพอาคารด้วยคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SIMULATION) เพื่อศึกษาหาวิธีการประหยัดพลังงานภายในอาคารตัวอย่างอย่างละเอียด โดยใช้การวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประเมินผลการวิจัยให้สามารถสร้างตัวอย่างของอาคารประหยัดพลังงานที่สมบูรณ์ได้ในที่สุด จากผลงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงอิทธิพลของตัวแปรหลายตัวที่สำคัญ เช่น ความลึก-ตื้นของน้ำมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิน้ำมีความแตกต่างกันได้ถึง 4 C ดินที่ผิวมีการปรับแต่งสภาพบางลักษณะมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิดินลดลงถึง 3 C จากปกติ วัสดุปูผิวทางเดินเมื่อเทียบกับสนามหญ้าพบว่ามีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันถึง 10 C และการใช้ช่องเปิดด้านบนช่วยให้สามารถดึงแสงธรรมชาติเข้ามาภายในอาคารได้ลึกถึง 8 เมตร รวมถึงการใช้ช่องเปิดเหนืออาคารส่วนที่เป็นโดมก็ช่วยประหยัดการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางเดินในช่วงเวลากลางวันไปได้มาก อิทธิพลดังกล่าวเป็นส่วนประกอบซึ่งมีผลต่อการใช้พลังงานในอาคาร ในการวิจัยขั้นสุดท้ายข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จึงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ และทำการวิเคราะห์โดยการจำลองสภาพการใช้พลังงานในอาคารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่าสามารถประหยัดพลังงานลงได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับอาคารที่มีมาตรฐานในการก่อสร้างโดยทั่วไป นั่นคือสามารถลดภาระการทำความเย็นให้กับอาคารลงมากดังจะพบว่าใช้ปริมาณเครื่องปรับอากาศเพียงประมาณ 63 ตร.ม./ตัน และมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคารน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ พรบ.อนุรักษ์พลังงาน (OTTV) เพียง 18 วัตต์/ตร.ม. (คิดเป็นเพียง 40% ตามที่กำหนดไว้) งานวิจัยนี้จึงนับเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกิดอาคารอนุรักษ์พลังงาน ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับภูมิภาคในเขตร้อนชื้น
Description:
ล.1 รายงานฉบับสมบูรณ์ -- ล.2 เอกสารประกอบรายงานฉบับสุดท้าย ภาคผนวก ก,ข -- ล.3 เอกสารประกอบรายงานฉบับสุดท้าย ภาคผนวก ค,ง,จ
รายงานเสนอต่อ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
Show full item record
Files in this item
Name:
Bundhit(facv3).pdf
Size:
21.10Mb
Format:
PDF
Description:
เล่ม 3
View/
Open
Name:
Bundhit(facv2).pdf
Size:
8.073Mb
Format:
PDF
Description:
เล่ม 2
View/
Open
Name:
Bundhit(facv1).pdf
Size:
30.80Mb
Format:
PDF
Description:
เล่ม 1
View/
Open
This item appears in the following Collection(s)
Eng - Research Reports
[347]
Search DSpace
Search DSpace
This Collection
Advanced Search
Browse
All of DSpace
Communities & Collections
By Issue Date
Authors
Titles
Subjects
xmlui.ArtifactBrowser.Navigation.browse_discipline
This Collection
By Issue Date
Authors
Titles
Subjects
xmlui.ArtifactBrowser.Navigation.browse_discipline
My Account
Login
Register
Statistics
View Usage Statistics