DSpace Repository

การหาจุดแบ่งของตัวแบบการถดถอยโลจิสติกแบบ 2 ประเภทสำหรับการพยากรณ์การจำแนกข้อมูลโดยใช้ฟังก์ชันโลจิทเป็นฟังก์ชันเชื่อมโยง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพล ดุรงค์วัฒนา
dc.contributor.author อรุณรัตน์ โพธิ์คำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2012-10-10
dc.date.available 2012-10-10
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22512
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดแบ่งของตัวแบบการถดถอยโลจิสติกแบบ 2 ประเภทสำหรับการพยากรณ์การจำแนกข้อมูลโดยใช้ฟังก์ชันโลจิท เป็นฟังก์ชันเชื่อมโยง ปัจจัยที่สนใจศึกษาในครั้งนี้คือ สัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษา (a) เท่ากับ 0.1, 0.5 และ 0.9 ระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (P) เท่ากับ ความสัมพันธ์กันในระดับอย่างต่ำ: 0 < Max{Pij} < 0.30 ความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง: 0.30 < Max{Pij} < 0.60 ความสัมพันธ์กันในระดับสูง: 0.60 <Max{Pij} < 0.90 ขนาดตัวอย่าง (n) คือ n= 50,100,150,200,250 และจำนวนตัวแปรอิสระ (P) คือ P = 1,2,3,4,5 ข้อมูลทั้งหมดนี้ใช้การจำลองโดยเทคนิคมอนติคาร์โล ด้วยโปรแกรม R การหาจุดที่ทำให้สัดส่วนความถูกต้องในการจำแนกกลุ่มมีค่าสูงสุดผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กรณีสัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษา เปลี่ยนแปลง แต่ปัจจัยอื่นๆคงที่ พบว่า ที่สัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษามีค่าเท่ากับ 0.5 ค่าจุดแบ่งมีค่าลู่เข้าสู่ 0.5 แต่ที่ค่าอื่นๆ ค่าจุดแบ่งมีค่ามากกว่า 0.5 กรณีระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ พบว่า ที่สัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษามีค่าเท่ากับ 0.1 ค่าจุดแบ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 0.5 กรณีขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ พบว่า ที่ สัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษามีค่าต่ำ เมื่อขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้น ค่าจุดแบ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กรณีจำนวนตัวแปรอิสระเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ พบว่า ที่สัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษามีค่าต่ำ จำนวนตัวแปรอิสระเพิ่มขึ้น ค่าจุดแบ่งมีค่าลดลงจาก 0.5 แต่ที่สัดส่วนของความล้มเหลวของลักษณะที่สนใจศึกษามีค่าสูง จำนวนตัวแปรอิสระเพิ่มขึ้น ค่าจุดแบ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก จาก 0.5 en
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to find the cut-off point estimation of binary logistic regression model for predictive classification using logit function as a link function.The interesting factors are the failure rate (a) of the values 0.1,0.5 and 0.9, degree of multicollinearity among independent variables (P) with 3 levels; low level (0 < Max{Pij} < 0.30), medium level (0.30 < Max{Pij} < 0.60 ) and high level (0.60 < Max{Pij} < 0.90),sample size (n) of the values 50,100,150,200,250 and the number of independent variables (p) of the values 1,2,3,4,5.The data are generated using Monte Carlo technique through R-program. The cut-off point that the proportion of Classification Error rate with the highest value. The results are summarized as follow : As the failure rate changes, the sample size increases, the number of independent variables increases and the other factors are kept constant.The pattern of convergence to 0.5 would be a sinusoidal wave. Alternately up and down and the speed of convergence as a short-term period is the starting point of convergence to 0.5 in the short term .As the degree of multicollinearity increases and the other factors are kept constant. The pattern of convergence to 0.5 would be a exponential wave. en
dc.format.extent 1416035 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.884
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก en
dc.subject ข้อมูล -- การจำแนก en
dc.title การหาจุดแบ่งของตัวแบบการถดถอยโลจิสติกแบบ 2 ประเภทสำหรับการพยากรณ์การจำแนกข้อมูลโดยใช้ฟังก์ชันโลจิทเป็นฟังก์ชันเชื่อมโยง en
dc.title.alternative The cut-off point estimation of binary logistic regression model for predictive classification using logit function as a link function en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สถิติ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor fcomsdu@acc.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.884


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record