DSpace Repository

การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ยังไม่แสดงอาการด้วยวิธีการวัดอัตราส่วนความดันช่วงหัวใจบีบที่ข้อเท้ากับที่แขนในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ระยะต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนาธิป โอศิริ
dc.contributor.author นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-10-11T14:18:51Z
dc.date.available 2012-10-11T14:18:51Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22564
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ยังไม่มีอาการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปี เปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปที่มีอายุ เพศ โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและดัชนีมวลกายตรงกันวิธีดำเนินการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ไม่แสดงอาการด้วยวิธีการวัดอัตราส่วนความดันช่วงหัวใจบีบที่ข้อเท้ากับที่แขน (ankle brachial index; ABI) ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปีเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป ผลการศึกษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปีกับกลุ่มประชากรทั่วไปมีค่าเฉลี่ย ABI เท่ากัน คือ 1.06±0.07 โดยประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งไม่แตกต่างกันทั้ง อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ความยาวรอบเอว ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัยอันควรในครอบครัว สัดส่วนของคนที่เคยสูบบุหรี่ คนที่หมดประจาเดือน และผู้ที่ออกกำลังกายน้อย ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด นอกจากนี้ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีคนที่มีค่า ABI ที่ผิดปกติชัดเจน คือ ≤ 0.9 เลย และยังมีสัดส่วนของคนที่มีค่า ABI อยู่ในช่วงก้ำกึ่ง (ABI = 0.90-0.99) และช่วงค่าปกติที่ค่อนข้างต่ำ (ABI = 1.00-1.09) ซึ่งมีหลักฐานว่าทั้งสองช่วงดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ไม่แสดงอาการมากกว่ากลุ่มที่มี ABI ปกติ (ABI = 1.10-1.29) ไม่แตกต่างกัน (p = 0.96) สรุปผลการศึกษา ไม่พบว่ามีความแตกต่างของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ไม่แสดงอาการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการไม่เกินสามปี กับประชากรทั่วไป ที่มีอายุ เพศ โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และดัชนีมวลกายตรงกัน en
dc.description.abstractalternative Objective: To evaluate subclinical atherosclerosis by ankle brachial index (ABI) measurement in patient with early rheumatoid arthritis (RA) compared with age-, sex-, body mass index (BMI)-, and atherosclerosis-associated underlying diseases matched healthy persons. Method: Forty-five patients with early RA who met the 2010 EULAR/ACR classification criteria for the classification of RA and disease duration of ≤ 3 years were included in this study. Smokers, patients with diabetes mellitus and previous cardiovascular events were excluded. Forty-five age-, sex-, BMI- and atherosclerotic-associated underlying diseases-matched volunteers were selected as controls. ABI were measured by a skilled staff unawared of the persons studied. Results: Patients with RA had similar traditional risk factors to those of controls, such as proportion of previous smokers, exercise < 3 times/week, and menopausal state. No significant difference in the mean BMI, waist circumference, blood pressure, fasting blood sugar, and lipid profiles. Mean ABI was 1.06±0.07 for RA patients and mean ABI was 1.06±0.07 for controls, (p = 0.96). Nobody has definite abnormal range ABI (ABI ≤ 0.9). In addition, both groups have similar proportion of persons with borderline and low normal ABI, which may indicate an increase risk of subclinical atherosclerosis. Conclusions: No diferrence in ABI between patients with early RA and matched controls. A significant abnormal ABI in RA patients was no demonstrated. en
dc.format.extent 1957582 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.891
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ en
dc.subject หลอดเลือดแดงแข็ง en
dc.title การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่ยังไม่แสดงอาการด้วยวิธีการวัดอัตราส่วนความดันช่วงหัวใจบีบที่ข้อเท้ากับที่แขนในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ระยะต้น en
dc.title.alternative Detection of subclinical atherosclerosis by ankle brachial index in patient with early rheumatoid arthritis en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Manathip.O@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.891


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record