Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ใน แต่ละคู่ของตัวแปรอิสระจากทั้งสองตัวแบบที่จะส่งผลให้ได้เลือกตัวแบบทางสถิติแบบไม่ติดกลุ่มอย่างสมบูรณ์ ของตัวแบบถดถอยโลจิสติกทวินามที่มีฟังก์ชัน คอมพลีเมนทารีล็อก-ล็อกเป็นฟังก์ชันเชื่อมโยงที่ดีที่สุด เมื่อขนาดตัวอย่างของเซตตัวแปรอิสระและจำนวนของตัวแปรอิสระของเซตทั้งสองเท่ากัน และเพื่อศึกษาจำนวนของ ตัวแปรอิสระจากทั้งสองตัวแบบที่จะส่งผลให้ได้ตัวแบบ ทางสถิติแบบไม่ติดกลุ่มอย่างสมบูรณ์ของตัวแบบถดถอยโลจิสติกทวินามที่มีฟังก์ชันคอมพลีเมนทารี ล็อก-ล็อกเป็นฟังก์ชันเชื่อมโยงที่ดีที่สุดเมื่อขนาดตัวอย่างของเซตตัวแปรอิสระและระดับความสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระ ของเซตทั้งสองเท่ากัน โดยใช้พื้นที่ใต้โค้ง (Area Under the Curve: AÛC) สูงสุดเป็นเกณฑ์ในการเลือกตัวแบบ จากการวิจับพบว่า กรณีขนาดตัวอย่างของเซตตัวแปรอิสระและจำนวนของตัวแปรอิสระของเซตทั้งสองเท่ากันพบว่าเมื่อระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระมีค่าเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้โค้ง ROC จะมีค่าลดลง กรณีขนาดตัวอย่างของเซตตัวแปรอิสระและระดับความสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระของเซตทั้งสองเท่ากันพบว่าเมื่อจำนวนตัวแปรอิสระในตัวแบบมีจำนวนมากขึ้น ค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้โค้ง ROC จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นตาม และจาก ผลการวิจัยทำให้ทราบอีกว่า ในกรณีจำนวนของตัวแปรอิสระของเซตทั้งสองเท่ากันและระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระของเซตทั้งสองเท่ากัน พบว่าเมื่อขนาดตัวอย่างของเซตตัวแปรอิสระเพิ่มมากขึ้น ค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้โค้ง ROC จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นตาม ดังนั้น ระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระ จำนวนตัวแปรอิสระในตัวแบบและขนาดตัวอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกตัวแบบ ผลการคัดเลือกตัวแบบ กรณีเมื่อจำนวน ตัวแปรอิสระใน ตัวแบบที่ 1 น้อยกว่า จำนวนตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 2 และระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 1 มากกว่าหรือเท่ากับระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 2 จะเลือกตัวแบบที่ 2 กรณีเมื่อ จำนวนตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 1 มากกว่า จำนวน ตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 2 และระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 1 น้อยกว่าหรือเท่ากับระดับสหสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของตัวแปรอิสระในตัวแบบที่ 2 จะเลือก ตัวแบบที่ 1