DSpace Repository

สาวใช้ : แรงงานข้ามชาติในครัวเรือนไทยกับการคุ้มครองของรัฐ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
dc.contributor.advisor แล ดิลกวิทยรัตน์
dc.contributor.author เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2012-10-30T04:26:24Z
dc.date.available 2012-10-30T04:26:24Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22943
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อพิจารณารูปแบบและวิธีการเอาประโยชน์จากแรงงานหญิง รับใช้ข้ามชาติในครัวเรือนไทยผ่านสภาพการจ้างงาน สถานะทางกฎหมายของแรงงาน ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนแรงงานและสวัสดิการที่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของนายจ้างไทยเป็นหลัก ไม่มีข้อกำหนดแต่อย่างใด การเอาประโยชน์จากคนรับใช้นี้ได้นำไปสู่คำถามต่อศักยภาพของกฎหมายและกลไกรัฐในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานกลุ่มนี้ แต่เหตุใดอำนาจและกลไกรัฐจึงเข้าไม่ถึงในบ้าน ไม่อาจบังคับนายจ้างหรือให้ความคุ้มครองแรงงานได้ การตอบโจทย์ดังกล่าวอาจต้องเข้าใจข้อเท็จจริงบางประการ กล่าวคือ นายจ้างในสังคมสมัยใหม่ทุกวันนี้มีความจำเป็นต้องพึ่งแรงงานหญิงข้ามชาติมาช่วยงานบ้าน เนื่องจากศักยภาพของตนเองที่พัฒนาขึ้น แม่บ้านเริ่มมีบทบาททางสังคมนอกบ้านมากขึ้น และงานของผู้หญิงชนชั้นกลางในเมืองสมัยใหม่เริ่มเปลี่ยนไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจมากกว่างานบ้าน ความสำคัญและบทบาทของแม่บ้านและบุตรสาวจึงขยายออกไปนอกบ้านอย่างเห็นได้ชัดกระทั่งไม่อาจอยู่แต่ในบ้านและทำงานบ้านได้อีกต่อไป จำต้องอาศัยแรงงานหญิงข้ามชาติราคาถูกมาทำงานแทน ทว่าสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมและสภาพความเป็นอยู่ของหญิงรับใช้ข้ามชาติที่กลับไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากนายจ้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งองค์กรด้านแรงงานระหว่างประเทศและกลไกของภาครัฐไม่อาจแทรกแซงอำนาจของนายจ้างภายในบ้านได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ทำการวิเคราะห์ถึงต้นสายปลายเหตุของเรื่องนี้ โดยตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าภาพลักษณ์และความหมายของ "งานบ้าน" ที่ยังคงผูกโยงกับบทบาทของ "แม่บ้าน" อย่างแนบแน่นและส่งต่อมาถึง "สาวใช้" โดยทำหน้าที่เป็นอุดมการณ์ที่คอยยึดตรึงและอำนวยการให้ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างภายในบ้านดำรงอยู่และดำเนินต่อไปอย่างแข็งขันซึ่งอำนาจรัฐไม่อาจแทรกแซงได้ en
dc.description.abstractalternative This paper aims to analysis forms and means of exploitation of women migrant domestic workers who work as housekeepers in Thai households by considering the working conditions, the legitimacy of the Labor Law, wages and welfare, which are dependent mainly upon their employers’ satisfaction, and without any obligation by the state. This exploitation of maids raises questions about the state’s effectiveness in enforcing laws and the governmental mechanism in protecting the rights of this group of laborers. In answering these questions, some facts must be understood: employers in today’s modern world need women migrants to work in housekeeping, since their capacities have developed and housewives have a more prominent status in society. The greater proficiency of these middleclass urban women has led to specializations, which creates greater economic values than housekeeping. The roles of working women have expanded so they no longer do any housekeeping. Thus, they need low-paid women migrants to work at their private homes. Unfairly treated, the maids' working and living conditions are often neglected by employers and governmental agencies, while the international labor organization and state mechanisms ineffectively regulate the power of employers in private homes. This paper analyses the causes and effects on the hypothesis that "housekeeping", once relevant to women’s home life, has now passed to a “maid” whose duty to hold on to such ideology is constantly suppressed by power relations. Discriminations between employers and domestic workers continue without any state regulation to control it. en
dc.format.extent 3606760 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.947
dc.subject แรงงานต่างด้าว -- ไทย en
dc.subject แรงงานต่างด้าวสตรี -- ไทย en
dc.subject ผู้ทำงานรับใช้ในบ้าน -- ไทย en
dc.subject นโยบายแรงงาน -- ไทย en
dc.title สาวใช้ : แรงงานข้ามชาติในครัวเรือนไทยกับการคุ้มครองของรัฐ en
dc.title.alternative Maids : migrant domestic workers in Thai households and state protection en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมือง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Narong.Pe@chula.ac.th
dc.email.advisor Lae.D@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.947


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record