Abstract:
การศึกษาทางระบาดวิทยาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบและความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะโรคปริทันต์อักเสบกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ในพนักงานผู้สูงอายุของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่มีอายุ 49-72 ปี ที่เข้าร่วมโครงการการวิจัยเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีประชากรที่ได้รับการตรวจฟัน 2,276 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกได้รับการตรวจสภาวะปริทันต์ 2,005 คน โดยจะได้รับการ ตรวจสภาวะปริทันต์เมื่อมีฟันอย่างน้อย 6 ซี่ใน 2 ส่วนของช่องปากที่สุ่มเลือกมา ตรวจหาปริมาณคราบจุลินทรีย์ วัดความลึกของร่องลึกปริทันต์ระดับเหงือกร่นและการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ซี่ละ 6 ตำแหน่ง การวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบได้จากระดับร่องลึกปริทันต์ร่วมกับการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ส่วนการวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดทำโดยแพทย์โรคหัวใจ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้สูงอายุในกลุ่มตัวอย่างเป็นโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 82.0 ซึ่งแบ่งเป็นโรคปริทันต์ อักเสบระดับต้นร้อยละ 42.2 ระดับกลางร้อยละ 29.3 และระดับรุนแรงร้อยละ10.5 พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างป่วย ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 217 คน คิดเป็นร้อยละ 10.82 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคปริทันต์ อักเสบและไม่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ มีความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่ากันคือร้อยละ 10.83 จากการ วิเคราะห์หาปัจจัยเสียงโดยใช้สถิติ Logistic Regression Analysis และควบคุมตัวแปรทีอาจมีผลต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ เพศ อายุ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ระดับ โคเลสเตอรอลรวม เอชดีแอลโคเลสเตอรอล ความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิก พบว่าปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ อายุ การไม่ออกกำลังกาย โรคเบาหวาน ระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลและความดันโลหิตซิสโตลิก สำหรับโรคปริทันต์อักเสบ ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) (OR = 0.87, 95% Cl; 0.59 - 1.27) แต่จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ One-way ANOVA พบว่าความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบมีความสัมพันธ์กับภาวะไขมัน ในเลือดสูง อันได้แก่ ระดับเอซดีแอลโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าโรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่มีความชุกสูงในผู้สูงอายุของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย แม้ว่าโรคปริทันต์อักเสบไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ อาจจะมีความสัมพันธ์กับตัววัดความเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือดคือระดับไขมันในเลือดทีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ควรมีศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวต่อไป