Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเย็นตัวลงของพอร์ชเลนเฟลด์สปาร์ (FP) ภายหลังการเผาในสภาวะต่างตัน 2 แบบคือ การเย็นตัวอย่างรวดเร็ว (F)และการเย็นตัวอย่างช้า (S)โดยศึกษาตอนที่ I) ผลกระทบต่อปริมาณผลึกลูไซต์ ตอนที่ II) ค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวเหตุความร้อนของพอร์ชเลน ตอนที่ III) ค่ากำลังดัดขวาง ตอนที่ IV) ลักษณะการเกิดผลึกลูไซต์ และตอนที่ V) ความทึบแสง โดยใช้พอร์ชเลนเฟลด์สปาร์ทั้งหมด 4 ชนิดคือ 1)ชนิดโอพอลเลสเซนต์ (Vintage Halo, shofu Inc.): 2)ชนิดดั้งเดิม (Vita Omega 900,Vita Zahnfabrik); 3) ชนิดลูไซต์สังเคราะห์ (Noritake Super porcelain Ex-3, Noritake Kizai) และ 4) ชนิดเจือฟลูออโรอะปาไธต์ (IPS d.SIGN. Ivoclar) รวมเป็น 8 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มแบ่งการทดลองออกเป็น 5 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1) เตรียมลูไซต์มาตรฐานและตัวอย่างทดสอบของ FP 80 ตัวอย่าง โดยทดสอบด้วยเครื่องวัดการกระเจิงของรังสีเอกซเรย์ และหาค่าร้อยละโดยน้ำหนักของปริมาณลูไซต์ (LEU.wt%): ตอนที่ II)เตรียมแท่ง FP ขนาด 2x1.5x5 มม. จำนวน 8 กลุ่ม นำมาทดสอบด้วยเครื่องวัดการขยายตัว เพื่อวัดค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวเหตุความร้อน (α,x10-10/o ซ) : ตอนที่ III) เตรียมแท่งตัวอย่าง FP เคลือบทับบนโลหะผสมไร้สกุล ขนาด 2x1.5x25 มม. จำนวน 80 ตัวอย่าง เพื่อหาค่ากำลังดัดขวาง (MOR, MPa) ด้วยเครื่องทดสอบสากล โดยให้ FP อยู่ด้านแรงดึงสูงสุด; ตอนที่ IV) นำแผ่นกลม FP ของทั้ง 8 กลุ่ม มากัดด้วยกรดไฮโดรฟลูออกริก (HF) ร้อยละ 0.1 เป็นเวลา 20 นาที และชุบด้วยทองพลาเดียม เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดของผลึกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสองกราด; ตอนที่ V) เตรียมแผ่นกลม FP ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. หนา 1.5 มม. จำนวน 80 ตัวอย่าง เพื่อวัดค่าความทึบแสง (Y%) ด้วยเครื่องเทียบสี นำข้อมูลของตอนที่ I IIII และV วิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบแบบทูกีย์ ผลการศึกษาเป็นดังนี้ ค่าเฉลี่ย (x bar±SD)ของLEU, α, MOR, Y%) กลุ่ม 1F) 15.83±1.20, 13.0, 120.31±26.73, 86.37±1.65 กลุ่ม 1S) 18.75±2.08, 15.1, 97.26±26.79,84.95±2.12 กลุ่ม2F)20.09±1.15, 13.3, 113.47±23.98, 91.21±0.72 กลุ่ม 2S) 19.70±1.20, 17.3, 93.58±15.06, 90.70±1.04 กลุ่ม 3F)20.20±2.04, 117.09±28.88, 72.82±1.13 กลุ่ม 3S) 21.33±1.46, 15.4, 127.34±39.18, 71.83±1.19 กลุ่ม 4F) 8.28 ±1.83, 12.0, 110.94±28.99, 87.35±1.35 กลุ่ม4S) 8.37 ±2.47ม, 15.1, 122.40±20.50, 87.39 ±1.02 ส่วนภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่า กลุ่ม S ปริมาณของผลึกลูไซต์มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่ม F และในพอร์ซเลนเฟลด์สปาร์ชนิดเดียวกันในภาวะเย็นตัวต่างกัน มีค่าเฉลี่ยร้อยละโดยน้ำหนักของปริมาณลูไซต์ ค่ากำลังดัดขวาง และค่าความทึบแสง/ค่าความโปร่งแสง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) แต่ค่า α ของฟอร์ซเลนเฟลด์สปาร์ภายใต้การเย็นตัวอย่างช้ามีค่าสูงกว่าในทุกกลุ่ม และในภาวะการเย็นตัวลงอย่างเดียวกัน พบว่าพอล์ซเลนเฟลด์สปาร์ชนิดลูไซต์สังเคราะห์มีค่าความโปร่งแสงมากที่สุด และพอร์ซเลนเฟลด์สปาร์ชนิดเจือฟลูออโรอะปาไธต์มีค่าเฉลี่ยร้อยละโดยน้ำหนักของผลึกลูไซต์น้อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) และเป็นพอร์ซเลนเพียงชนิดเดียวที่เกิดผลึกฟลูออโรอะปาไธต์ ซึ่งเป็นผลึกที่แสดงคุณสมบัติเด่นของพอร์ซเลนกลุ่มนี้ ดังนั้นการเลือกภาวะการเย็นตัวของพอร์ซเลนเฟลด์สปาร์ควรคำนึงถึงผลต่อ α ของพอร์ซเลนเฟลด์สปาร์ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเลือกชนิดของโลหะ