DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของภาวะหลอดเลือดสมอง ภายในกะโหลกศีรษะหนาตัวที่มีหินปูนเกาะโดยภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์โทโมกราฟฟี่ กับ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองประเมินด้วย เดอะเนชันแนลอินสทิทิวสอ๊อฟเฮวท์โต๊กสเกล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันครั้งแรก ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กัมมันต์ พันธุมจินดา
dc.contributor.advisor นิจศรี ชาญณรงค์
dc.contributor.author ยุทธชัย ลิขิตเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-09T08:59:29Z
dc.date.available 2012-11-09T08:59:29Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 974171274
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23600
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ หินปูนเกาะที่ผนังหลอดเลือดเป็นภาวะที่พบได้จากภาพเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง หินปูนที่ผนังหลอดเลือดบ่งถึงภาวะหลอดเลือดหนาตัวของหลอดเลือดนั้นๆ มีการศึกษาวัคความหนา ของหินปูนที่หลอดเลือดหัวใจเพื่อพยากรณ์โรคหลอดเลือดหัวใจตีบในขณะที่การศึกษาภาวะหินปูนเกาะที่ผนังหลอด เลือดสมองมีการศึกษาน้อย วิธีวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบครั้งแรกที่หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยแบ่งชนิดของโรคหลอดเลือดสมองด้วยหลักเกณฑ์ของ โทสท์ และ ประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองด้วย เดอะเนชันแนลอินสทิทิวส์อ๊อฟเฮวท์สโต๊กสเกล การประเมินความ หนาของหินปูนที่ผนังหลอดเลือดจะประเมินหลอดเลือดในสมอง 7 หลอดเลือดได้แก่ หลอดเลือด อินเทอร์นอลคาโรติด ทั้ง 2 ข้าง หลอดเลือด มิดเดิ้ลซิริบรอล ทั้ง 2 ข้าง หลอดเลือด เบซิล่า และหลอดเลือด เวอร์ทีบรอล ทั้ง 2 ข้าง คะแนนของ หินปูนแบ่งเป็น 5 ระดับคือ 0 = ไม่มีลักษณะหินปูนเกาะ, 1 = มีลักษณะหินปูนเกาะเล็กน้อยเป็นจุด, 2 = มีลักษณะ หินปูนเกาะเป็นแถบบางไม่ถึงครึ่งรอบวงของหลอดเลือด, 3 = มีลักษณะหินปูนเกาะเป็นแถบเกินครึ่งรอบวงของหลอด เลือดแต่ไม่ครบวง, 4 = มีลักษณะหินปูนเกาะเป็นแถบครบรอบวง คะแนนความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองและ คะแนนหินปูนได้ถูกนำมาคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยโรคหลอเลือดสมอง 98 รายที่เข้าเกณฑ์การศึกษา เป็นเพศชาย 46 รายเพศหญิง 52 ราย อายุเฉลี่ย 65.55 ± 11.456 ปี พบว่ามีผู้ป่วยที่มีหินปูนเกาะที่ผนังหลอดเลือด 65 ราย (66%) หลอดเลือดที่มีหินปูนเกาะ บริเวณผนังมี หลอดเลือดอินเทอร์นอลคาโรติดด้านขวา 65 ราย, หลอดเลือดอินเทอร์นอลคาโรติดด้านซ้าย 52 ราย, หลอดเลือดมิดเดิลซิริบรอลด้านขวา 4 ราย, หลอดเลือดมิดเคิ้ลซิริบรอลด้านซ้าย 3 ราย, หลอดเลือดเบซิล่า 6 ราย, หลอดเลือดเวอร์ทีบรอล ด้านขวา 13 ราย และหลอดเลือดเวอร์ทีบรอล ด้านซ้าย 17 ราย ค่าเฉลี่ยของ เดอะเนชันแนลอินสทิทิวสอ๊อฟเฮวท์โต๊กสเกล เท่ากับ 5.6 คำสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนหินปูนกับเดอะเนชันแนล อินสทิทิวสอ๊อฟเฮวท์โต๊กสเกลเท่ากับ 0.036 (p=0.316). ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนหินปูนกับอายุผู้ป่วย เท่ากับ 0.428 (p<0.001). ไม่พบความสัมพันธ์กับปัจจัยเสียงโรคหลอดเลือดอื่นๆ สรุป: ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหินปูนเกาะที่ผนังหลอดเลือดกับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหินปูนเกาะที่ผนังหลอดเลือดกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองยกเว้นอายุ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือด สมองไม่สามารถพยากรณ์ได้จากหินปูนที่ผนังหลอดเลือดที่เห็นจากเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
dc.description.abstractalternative Vascular calcification is occasionally demonstrated by computed tomography of the brain. The calcification of intracranial vessels reflects atherosclerosis of those vessels. Measuring calcification of coronary artery has been studied in predicting ischemic heart disease while few studies have been done in cerebrovascular disease. Methods: Consecutive first ever stroke patients were admitted in Chulalongkorn hospital stroke unit. The stroke type and stroke severity were evaluated using TOAST criteria and NIHSS respectively. Calcification of 7 intracerebral vessels including internal carotid arteries, middle cerebral arteries, basilar artery and vertebral arteries were examined using the data from Computed tomography. The scoring of calcification was evaluated from the computed tomography of the brain as the following: 0 = no calcification, 1 = striped of calcification, 2 = continue calcification but less than half of the circumference of the vessel, 3 = continuous calcification more than half of the vessel circumference but not the whole circumference and 4 = calcification of the whole circumference. The correlation of calcification score and NIHSS on admission was calculated. Results: There were 98 patients included in this study 46 were male and 52 were female. The average age of those patients was 65.55 ± 11.45 year. 65 patients (66%) have calcification of intracerebral vessels. Calcification was found in 65 right internal carotid arteries, 52 left internal carotid arteries, 4 right middle cerebral arteries, 3 left middle cerebral arteries, 6 basilar arteries, 13 right vertebral arteries and 17 left vertebral arteries. The mean of NIHSS of this population was 5.6. The correlation coefficient between calcification score and NIHSS was 0.036 (p=0.316). The correlation coefficient between calcification score and patients’ age was 0.428 (p<0.001). No correlation between calcification score and other vascular risk factors could be demonstrated. Conclusion: There is no significant correlation between calcification score and stroke severity. The calcification was also not correlated to any vascular risk factors but patients’ age. The stroke severity cannot be predicted by the intracerebral vascular calcification demonstrated by computed tomography.
dc.format.extent 3097476 bytes
dc.format.extent 1782373 bytes
dc.format.extent 9633773 bytes
dc.format.extent 2732608 bytes
dc.format.extent 3628368 bytes
dc.format.extent 1537967 bytes
dc.format.extent 4344531 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject หลอดเลือดแดงแข็ง
dc.subject สมองขาดเลือดเลี้ยง
dc.subject Atherosclerosis
dc.subject Cerebral ischemia
dc.subject Cerabrovascular disorders
dc.subject Cerebrovascular accidents
dc.subject Tomography scanners, x-ray computed
dc.subject The National Institutes Health Stroke Scale
dc.subject NIHSS
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของภาวะหลอดเลือดสมอง ภายในกะโหลกศีรษะหนาตัวที่มีหินปูนเกาะโดยภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์โทโมกราฟฟี่ กับ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองประเมินด้วย เดอะเนชันแนลอินสทิทิวสอ๊อฟเฮวท์โต๊กสเกล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันครั้งแรก ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ en
dc.title.alternative Correlation between severity of calcified intracranial vessel demonstrated by computed tomography scan and stroke severity evaluated by The National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) in patients with first acute ischemic stroke patients at King Chulalongkorn Memorial hospital en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record